สรุปหนังสือ How to Speak, How to Listen l SALESARM


Blog Detail

มาทำความรู้จักผู้เขียนกันสักหน่อยนะครับ
          มอร์ทิเมอร์ เจ อาดเลอร์ เป็นนักปรัชญาและนักวิชาการชาวอเมริกัน เขียนหนังสือชื่อว่า How to Read a Book โดยปกติแล้วเขาบริจาคให้กับวารสารเกี่ยวกับปรัชญาและการศึกษาศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิคคาทอลิก

พูดและฟังอย่างไรให้ได้ผลดี

สาระสำคัญ...
  • อริสโตเติลและเพลโตเน้นถึงความสำคัญของ “หลักไวยากรณ์ วาทศิลป์ และหลักการใช้เหตุผล”
  • แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่วาทศิลป์และหลักการใช้เหตุผลนั้นไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกต่อไป
  • ก่อนหน้าแท่นพิมพ์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น มีเพียงอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในยุคกลางเท่านั้นที่จะมีต้นฉบับหนังสืออยู่ในครอบครอง ดังนั้น นักเรียนนักศึกษาจึงต้องตั้งใจฟัง
  • พัฒนาการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเพื่อปรับปรุงกิจการการทำงานและส่วนที่สำคัญของคุณ
  • อริสโตเติลเชื่อว่าการพูดเพื่อโน้มน้าวใจขึ้นอยู่กับ “อีตอส พาตอส และโลกอส”
  • อีตอสเกี่ยวข้องกับบุคลิกลักษณะ พาตอสกล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึก และโลกอสมุ่งไปที่การโต้แย้งให้เหตุผล
  • การสนทนามี 4 รูปแบบ ได้แก่ 
    1) การสนทนาเพื่อเข้าสังคม 
    2) การสนทนาแบบสนิทสนมเปิดเผย 
    3) การสนทนาที่ให้ความรู้ 
    4) การสนทนาที่ใช้ได้จริง
  • การโน้มน้าวใจควรจะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังผ่านข้อมูลใหม่ ความเข้าใจใหม่ และความเข้าใจแบบเจาะลึกที่ไม่เหมือนของเดิม
  • การฟังที่ดีจะต้องมีจิตใจที่เข้าถึง
  • จดบันทึกอย่างละเอียดระหว่างการพูดใด ๆ ก็ตาม เก็บข้อมูลไม่ใช่ความประทับใจที่คุณมีต่อการพูดครั้งนั้น
     
คุณจะเรียนรู้อะไร

1) ทำไมการพูดและการฟังจึงจำเป็นสำหรับทักษะทางภาษา 

2) “อีตอส พาตอส และโลกอส” ทำหน้าที่อะไรในการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจ 

3) ทำไมวัฒนธรรมของนักคิดตะวันตกจึงให้ความสำคัญกับการสนทนา 

4) การเป็นนักพูดในที่สาธารณะและการเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิภาพนั้นทำได้อย่างไร


ก่อนเริ่มเรื่อง
ในปี 1940 มอร์ทิเมอร์ เจ อาดเลอร์ นักคิด นักปรัชญา และนักวิชาการ เขียนหนังสือชื่อว่า How to Read a Book ซึ่ง Amazon อธิบายไว้ว่าเป็นหนังสือ “คลาสสิกคไม่เปลี่ยนแปลง” หลังจากนั้น 40 ปี เขาก็เขียนหนังสือเสริมในเรื่องการพูดและการฟัง ซึ่งนำเสนอความรู้ในเชิงลึกที่น่าประทับใจ ความเข้มงวดเกี่ยวกับความคิด และการวางท่าทีเป็นนักวิชาการ ซึ่งทั้งหมดจำแนกอยู่ในหนังสือเล่มแรกของเขาแล้ว อาดเลอร์โด่งดังจากการทำให้วัฒนธรรมของนักคิดตะวันตกเป็นที่รู้จักและทำให้มันเข้าถึงได้ อีกทั้งยังเป็นนักวิชาการสาธารณะที่มีชื่อเสียงซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารกองบรรณาธิการของ Encyclopedia Britannica และช่วยสรรสร้างโครงการหนังสือ Great Books of the Western World อีกด้วย Gget Abstract  แนะนำงานของอาดเลอร์ชิ้นนี้ เพราะเป็นบทเรียนเกี่ยวกับการพูดและฟังที่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป และจะลับคมให้กับทักษะทั้งสองด้านนี้


บทสรุปโดยย่อ
มอร์ทิเมอร์ เจ อาดเลอร์
นักคิด นักปรัชญา และนักวิชาการที่มีชื่อเสียง มอร์ทิเมอร์ เจ อาดเลอร์ (1902-2001) สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) และมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโกโก้ (University of Chicago) ในช่วงท้ายของปี 1930 เพอร์ซีซี่ สเตราส์ ประธานของ R.H. Macy and Company เสนอเงินเดือนจำนวนมากกว่าที่อาดเลอร์เคยได้จากการเป็นอาจารย์ถึง 6 เท่า เพื่อดึงตัวเขามาร่วมงานกับ Macy ในนิวยอร์ก แต่อาดเลอร์ยังคงยืนหยัดอยู่ในวงการการศึกษา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับการพูดและการฟัง
อย่างไรก็ตาม อาดเลอร์ก็ได้แนะแนวทางให้กับการประชุมธุรกิจของ Macy ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อประหยัดเวลาและลดปัญหาของผู้บริหารระดับสูง การประชุมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นหมายถึงการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและกำไรที่มากขึ้นด้วย การพบปะกันคือช่องทางที่คนจะได้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยและฟังซึ่งกันและกัน ไม่ว่าหน้าที่และจุดประสงค์ขององค์กรคุณคืออะไร ถ้าคุณพัฒนาการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกให้ดีขึ้น นั่นคือการทำงานและส่วนที่สำคัญในตัวคุณจะพัฒนาไปด้วย


การพูดและการฟัง
          การสื่อสารของมนุษย์นั้นเกี่ยวข้องกับภาษา ได้แก่ การเขียน การอ่าน การพูด และการฟัง ทักษะการอ่านจะเกิดขึ้นในช่วงประถมศึกษา การเขียนเริ่มในช่วงมัธยมปลายไปจนถึงมหาวิทยาลัย เมื่อมาถึงทักษะการพูด สถาบันมอบความรู้ให้กับเด็กเพียงเล็กน้อยบเท่านั้น (ยกเว้นบางรายวิชาที่เกี่ยวกับการพูดในที่สาธารณะ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนบางกลุ่มให้ผ่านอุปสรรคการพูดในที่สาธารณะ) และที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าไม่มีการสอนทักษะการฟังเลย

          การฟังอย่างตั้งใจนั้นเคยเป็นความสามารถที่จำเป็นของนักเรียน ก่อนที่แท่นพิมพ์จะถูกประดิษฐ์ขึ้นนอกจากอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในยุคกลางแล้ว มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะมีหนังสือต้นฉบับอยู่ในครอบครอง ดังนั้น นักเรียนจึงต้องตั้งใจฟัง อาจารย์จะอ่านออกเสียงหนังสือต้นฉบับเหล่านั้นพร้อมกับแสดงความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา นักเรียนคนไหนที่ไม่ตั้งใจฟังก็จะไม่ได้ความรู้อะไรเลย
หลักไวยากรณ์ วาทศิลป์ และหลักการใช้เหตุผล

          นักปรัชญายุคกรีกโบราณ เช่น อริสโตเติลและเพลโต ต่างเห็นความสำคัญของหลักไวยากรณ์ วาทศิลป์ และหลักการใช้เหตุผลว่าเป็นพื้นฐานของการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั้งสามหัวข้อนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อการศึกษามาหลายศตวรรษจนกระทั่งยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ขณะที่ศตวรรษที่ 20 เข้ามาใกล้ โรงเรียนส่วนใหญ่ละเลยการสอนวาทศิลป์และหลักการใช้เหตุผลเพื่อปูพื้นฐานการศึกษา หลักไวยากรณ์ยังคงเป็นที่นิยมแต่ก็ลดลงไปในช่วงศตวรรษที่ 20 นี้

          ในปัจจุบันครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาสอนเด็กให้อ่านและเขียน โรงเรียนสมัยใหม่ไม่ใส่ใจการสอนหลักไวยากรณ์ วาทศิลป์ และหลักการใช้เหตุผลอีกต่อไปแล้ว โดยไม่คำนึงถึงว่าทั้งสามสิ่งนี้เป็นแกนสำคัญของการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ คุณต้องมีความชำนาญทั้งสามสิ่งนี้ เพื่อใช้ในการพูดและการสนทนาให้คนเข้าใจความคิดของคุณ หลักไวยากรณ์และหลักการใช้เหตุผลช่วยทำให้ความคิดของคุณเข้าใจได้ง่ายและน่าเชื่อถือมากขึ้น อย่าลืมว่าคุณต้องใช้ในวาทศิลป์ในการทำให้คนสนใจและตื่นเต้นไปพร้อมกับคุณ

          วาทศิลป์เป็นทักษะที่สำคัญของคนกรีกและโรมันที่มีการศึกษา คนถูกคาดหวังว่าจะมีความสามารถที่จะเป็นนักพูดในที่สาธารณะ และนี่ยังเป็นเรื่องจริงที่ปรากฏฎกับคนที่มีการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 17 และ 18 แต่เดิมแล้ววาทศิลป์เกี่ยวข้องกับการเขียนที่สวยหรูและการพูดเพื่อแสดงความรู้สึกแม้ว่าพื้นฐานแล้วมันจะเกี่ยวกับการกล่าวสุนทรพจน์ก็ตาม วาทศิลป์นั้นประกอบด้วย “การโน้มน้าวที่ใช้การได้จริง” หรือการสื่อสารที่คุณมุ่งหมายว่าจะบรรลุ “ผลที่เกิดขึ้นได้จริง” นั่นเอง ตัวอย่างเช่น การขายสินค้า วาทศิลป์ยังรวมถึง “การพูดเพื่อให้ความรู้” เช่น การบรรยายในห้องเรียน ฝึกอบรม สัมมนา หรือการสอนแบบ Socratic

          วาทศิลป์อยู่เหนือเทคนิคการขาย คนส่วนใหญ่มีเหตุการณ์ที่จะต้องชักจูงและโน้มน้าวคนอื่น และในตอนนั้นเองที่วาทศิลป์จะเข้ามามีบทบาท เพลโตแยกพวกโซฟิสต์ (Sophist) ออกจากนักปรัชญา เพราะโซฟิสต์เป็นผู้ที่ใช้วาทศิลป์ในทางที่ผิดและไร้จรรยาบรรณ ขณะที่นักปรัชญาอื่น ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญในวาทศิลป์และ “ยืนหยัดกับความจริง” นักพูดควรจัดการให้วาทศิลป์เป็นศิลปะการเชิญเชื้อที่มีศีลธรรมและน่าชื่นชม

          ผู้สังเกตการณ์หลายคนเชื่อว่าถ้านักเรียนมีความเชี่ยวชาญในการอ่านและเขียนมากกว่านี้ ความสามารถในการพูดและการฟังของพวกเขาก็จะพัฒนาตามไปด้วย แต่ทว่าการพูดและฟังแตกต่างจากการเขียนและอ่านอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ทักษะการพูดและฟังเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสนทนาที่มีคุณภาพและเป็นเรื่องยากที่จะพัฒนา


ประเภทและรูปแบบของการสนทนา

          มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน การสนทนาทำให้การมีส่วนร่วมนี้เกิดขึ้นได้ นักปรัชญา เรอเน เดการ์ต (1596-1650) ยืนยันว่า แม้การพัฒนาและความรู้ทางด้านเครื่องจักรที่ก้าวหน้า แต่ก็ไม่มีเครื่องจักรใดสามารถสนทนากันได้อย่างที่มนุษย์ทำ เครื่องจักรทำงานด้วยคำสั่งที่เข้มงวดและวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่การสนทนานั้นไม่มีรูปแบบตายตัวและไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้เลย การสนทนาเพื่อเข้าสังคมเดินไปตามทางที่มันควรจะเป็น

         การสนทนาเป็นการใช้ทักษะการพูดและฟังที่สำคัญที่สุด สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทกว้าง ๆ 

ประเภทแรก คือ การสนทนาที่สามารถควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น การเจรจาทางธุรกิจ การประชุมทางธุรกิจ การสัมมนา การอภิปรายทางการศึกษา การประชุมทางศาสนา การให้คำแนะนำทางการศึกษา และการสอนหนังสือ 

ประเภทที่สอง คือ การสนทนาที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การคุยกับเพื่อนหรือการพบปะในสังคม

การสนทนามี 4 รูปแบบ ได้แก่ 
1) การสนทนาเพื่อเข้าสังคม 
2) การสนทนาแบบสนิทสนมเปิดเผย 
3) การสนทนาที่ให้ความรู้ 
4) การสนทนาที่ใช้ได้จริง 

การสนทนาที่มีคุณภาพถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำรงความสัมพันธ์ที่มีความหมาย

ตัวอย่างเช่น การสื่อสารที่แย่ระหว่างคู่รักเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การหย่าร้างได้มากพอ ๆ กับการขาดความพิศวาสในกันและกัน ความแตกหักของพ่อแม่และลูก ๆ หรือที่เรียกว่า “ความแตกต่างระหว่างวัย” ก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะประเด็นจากการสื่อสาร การสนทนาทำให้จิตใจได้มาเจอกัน ซึ่งจิตใจนั่นเองเป็นเครื่องมือของการเข้าทุก ๆ สังคม

เลือกกาลเทศะที่ถูกต้องให้กับการสนทนาของคุณ เช่นเดียวกับการที่ต้องเลือกผู้ร่วมวงสนทนาที่เหมาะสม รู้ว่าตัวเองอยากมีบทสนทนาประเภทไหน อย่าพูดเรื่องที่ไม่น่าพูดถึงในตอนนั้น และฟังทุก ๆ คนที่ร่วมสนทนา ไม่ใช่ฟังแค่ตัวคุณเอง ตอบคำถามให้ดีที่สุดและหากมีคำถามก็ควรตั้งคำถามที่สามารถเข้าใจได้ง่าย อย่าขัดจังหวะและจงมีความสุภาพตลอดเวลา อย่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เว้นแต่ว่าคุณเข้าใจความคิดของเขาอย่างถ่องแท้แล้ว ความจริงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทุกคนในวงสนทนาก็ควรจะพยายามรักษามันไว้ การค้นหานั้นอาจจะต้องผ่านการสนทนามากมาย แม้แต่คนที่มีเหตุผลที่สุดก็อาจจะมีความเห็นต่างในการสนทนาที่มีความเป็นทางการน้อยกว่า


อีตอส พาตอส และโลกอส
อริสโตเติลเขียนบทความอันโด่งดังเรื่องวาทศิลป์ที่เกี่ยวกับการโน้มน้าวผู้อื่น เขาสอนว่าการโน้มน้าวผู้อื่นนั้นขึ้นอยู่กับ 3 สิ่งสำคัญเหล่านี้ซึ่งมาจากภาษากรีก คือ อีตอส พาตอส และโลกอส อีตอสเกี่ยวข้องกับบุคลิกลักษณะ ในการโน้มน้าวผู้อื่น คุณต้องแสดงให้เห็นเป็นอย่างแรกก่อนว่าคุณเป็นคนน่ายกย่องเชื่อถือและผู้อื่นจะพบว่าคุณคู่ควรกับความสนใจและน่าให้ความเคารพ คุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและเครดิตให้กับคุณ ซึ่งนั่นเป็นส่วนที่จำเป็นมาก ๆ ในการโน้มน้าวใครสักคน

ในวรรณกรรมเรื่อง Julius Caesar เช็กคสเปียร์ส์ใช้คำกล่าวจากบรูตัส และมาร์ก แอนโทนีนี่ เพื่อแสดงตัวอย่างของอีตอส คำกล่าวทั้งสองยังรวม “การโน้มน้าวทางการเมือง” อยู่ด้วย ในบทละครปรากฏไว้ว่าผู้ร้ายได้ลอบสังหารกษัตริย์ซีซาร์ ผู้คนในกรุงโรมรวมตัวกันใกล้ ๆ กับร่างของซีซาร์ พร้อมเรียกร้องให้มีการลงโทษฆาตรกร บรูตัส หนึ่งในผู้สังหารซีซาร์ออกมาพูดเป็นคนแรก ที่สำคัญคือเขาใช้อีตอสในการชักจูงชาวโรมันว่าซีซาร์สมควรตายแล้ว

จากนั้นแอนโทนีนี่ก็พูดต่อจากบรูตัส เขาเริ่มต้นการปราศัยของเขาด้วยคำพูดยอดนิยมทั้งหลาย “สหาย ชาวโรมัน เพื่อนร่วมชาติ ยื่นหูของท่านมาใกล้ ๆ ข้ามาที่นี่เพื่อฝังศพของซีซาร์ ไม่ใช่เพื่อเชิดชูเขา” แอนโทนีนี่ก็ใช้อีตอสในการพูดก่อกวนคนโรมัน เพื่อให้พวกเขากระทำการต่อต้านบรูตัสและสหายฆาตกรของเขา

ต่อมาแอนโทนีนี่ยังใช้พาตอส (ปัจจัยแห่งแรงบันดาลใจ) เพื่อปลุกเร้าชาวโรมันโดยการเตือนสติพวกเขาว่าซีซาร์ได้สร้างอะไรไว้ให้พวกเขามากแค่ไหน แอนโทนีนี่ปิดท้ายการพูดของเขาด้วยการใช้โลกอส โดยทำการเสริมพื้นฐานของเหตุผลผ่านตรรกะและการโต้แย้งที่มีเหตุผล ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการกระทำที่เขากระตุ้นให้ชาวโรมันก่อขึ้นเพื่อต่อต้านฆาตรกรคนอื่น


การโน้มน้าว

          ในความสามารถในการชักจูงของคุณ ทั้งหมดของหลักการใช้เหตุผล ประเด็นที่เป็นเหตุเป็นผลและการโต้แย้งที่มีเหตุผล จะไม่มีประโยชน์เลย นอกจากว่าคุณจะใช้พาตอสเพื่อจี้ไปที่อารมณ์ของผู้ฟัง ไม่ว่าผู้ฟังจะมีเพียงแค่ 1 คนหรือเป็นพันคนก็ตาม อย่าสาธยายคำโต้เถียงนานหรือซับซ้อนจนเกินไป นำเสนอแค่เหตุผลที่จำเป็นต่อการเหนี่ยวนำผู้ฟังก็พอแล้ว

          การโน้มน้าวนั้นไม่ได้ใช้แค่กับการขายเท่านั้น แต่มันยังสามารถใช้ได้กับการพูดเพื่อแนะนำสั่งสอน เช่น การบรรยายในชั้นเรียน การให้โอวาท การปราศรัยเชิงธุรกิจ และการน้ำนำเสนอทางการทหาร อีกด้วย ในการสื่อสารเหล่านี้ คุณเริ่มออกเดินทางด้วยการชักจูงให้ผู้ฟังเชื่อว่าข้อมูลที่คุณมีนั้นถูกต้องและเป็นความจริง การโน้มน้าวใจควรจะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังผ่านข้อมูลใหม่ ความเข้าใจใหม่ และความเข้าใจแบบเจาะลึกที่ไม่เหมือนของเดิม การหาความรู้และข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ผู้ฟังจะต้องใส่ใจในการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ที่คุณพยายามทำ และพวกเขาต้องเป็นผู้ฟังที่ดีเช่นกัน

          การพูดเพื่อแนะนำสั่งสอนของคุณจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากคุณเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ถามคุณ ซึ่งจะนำไปสู่ “การตอบโต้แบบสองทาง” เช่น การปรึกษาหารือหลังการนำเสนอที่เป็นทางการ


คำแนะนำเพื่อการพูดและการฟัง

ใส่ใจในเคล็ดลับเพิ่มเติมเหล่านี้เพื่อการพูดและการฟังที่ดีขึ้นของคุณ
  • การพูดต่อหน้าสาธารณะนั้นต้องการการเตรียมพร้อมที่ระมัดระวัง เขียนทุกอย่างที่คุณวางแผนจะพูดและย่อมันให้เป็น “โครงโดยย่อ” อีกขั้นตอนที่สำคัญก็คือเขียนสิ่งที่จะพูดออกมาเป็นประโยคที่สมบูรณ์ลงบนโครง อย่าลืมเขียนตัวหนังสือให้ใหญ่และเว้นช่องไฟให้กว้าง ทำเช่นนั้นเพื่อให้สายตาของคุณมองเห็นและจับแต่ละประโยคได้เพียงแค่การกวาดสายตาครั้งเดียว
  • การพูดแต่ละครั้งควรใช้เวลา 30 นาทีหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ อย่าพูดสะเปะสะปะไปเรื่อย
  • การฟังที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับจิตใจที่จดจ่อมากกว่าหูที่ตั้งใจฟังมากเกินไป ผู้ฟังควรที่จะพยายามเข้าใจผู้พูด สนใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลัง
    บรรยายออกมา จดข้อโต้แย้งของผู้พูด แล้วค่อยเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไตร่ตรองดีแล้ว
  • ผู้ฟังที่กระฉับกระเฉงควรพยายามตอบคำถามเหล่านี้ ได้แก่ หัวข้อของการพูดครั้งนี้คืออะไร ไอเดียที่สำคัญที่สุดคืออะไร บทสรุปของผู้พูดมีเหตุผลหรือไม่ ทำไมการพูดครั้งนี้ควรจะมีความหมายกับฉัน
  • ถามและตอบคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปราศรัยต่าง ๆ มีจุดประสงค์เพื่อชักจูงคุณไปสู่บางสิ่ง ผู้พูดอยากขายอะไร ข้อโต้แย้งอะไรที่ผู้พูดใช้เพื่อทำให้ฉันโอนเอียง จุดสำคัญจุดไหนที่ผู้พูดไม่ได้กล่าวถึง แล้วมีประเด็นสำคัญอื่น ๆ ไหม ที่ผู้พูดละเลยไป
  • จดบันทึกระหว่างฟังอย่างกระตือรือร้น เก็บข้อมูลไม่ใช่ความประทับใจที่คุณมีต่อการพูดครั้งนั้น หลังจากการปราศรัยให้ไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับมา ถือว่าสิ่งที่คุณจดบันทึกมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่ผู้พูดนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ขั้นสุดท้ายหลังจากการพูดจบลงคือการจัดเรียงข้อมูลจากการจดของคุณให้เป็นระเบียบ ควรเป็นสรุปของข้อมูลจากการพูดที่ถูกต้อง ซึ่งคุณสามารถวางแผนได้
  • ส่วนของการถามและตอบรวบรวมเอาส่วนประกอบที่ดีที่สุดของการพูดและการฟังเอาไว้ด้วยกัน นั่นคือการเผชิญหน้าระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ยิ่งใช้เวลากับส่วนนี้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ผู้พูดจะเรียนรู้ได้อย่างมากจากคำถามของผู้ฟัง เช่นเดียวกับที่ผู้ฟังจะได้เรียนรู้จากผู้พูด


การไต่สวน

          โรเบิร์ต ฮัทชินส์ อดีตอธิการบดี University of Chicago เชื่อว่าอารยธรรมตะวันตกถูกค้นพบจากการสำรวจตรวจสอบ การใช้โลกอสหรือหลักการใช้เหตุผลนั้นหมายความว่าทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทุกเรื่อง ฮัทชินส์เชื่อว่า “ไม่มีข้อเสนอใดที่จะถูกทิ้งไว้โดยปราศจากการตรวจสอบ” คนต้องแบ่งปันความคิดและความเชื่อมั่นของพวกเขาเพื่ออารยธรรมจะได้ก้าวหน้าไป เดวิด ฮูม นักปรัชญาเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ งานเขียนของเขา “Civil Liberty” หรือสิทธิประชาชน แย้งว่าการสนทนาเป็นศูนย์กลางของสังคมมนุษย์

          นอกจากนี้แล้ว การสนทนาระหว่างประเทศถือเป็นสิ่งสำคัญในการหลีกเลี่ยงสงคราม นี่คือเรื่องจริงที่เห็นได้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นักปรัชญาชาวกรีก ซิเซโร เขียนไว้ในช่วงศตวรรษแรกว่า “การจะตั้งคำถามที่โต้แย้งได้นั้นมีสองวิธี ที่หนึ่งคือการถกเถียงพูดคุย และอีกทางคือการบังคับ อย่างแรกเป็นลักษณะของมนุษย์ แต่อย่างที่สองเป็นวิธีของสัตว์เดรัจฉาน หากมีวันใดที่เราล้มเหลว เราควรพึ่งพาอาศัยกัน” การสนทนาทั้งระหว่างประเทศและคนทั่วไปช่วยให้ความสัมพันธ์ประสบความสำเร็จได้ ไม่มีความเข้าใจใดที่จะเป็นไปได้หากปราศจากการสนทนาที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นจุดเด่นของคนที่ได้รับการศึกษา