ทำยังไงถึงขายดีคะ หมอกิม?
คำถามสั้น ๆ ที่อาจจะต้องตอบกันเป็นแบบมหากาพย์
แต่ถ้าจะให้ตอบสั้น ๆ ผมจะขอตอบว่า
"เราต้องรู้ว่า ทำไมถึงขายไม่ได้"
ถ้าเจ้าของแบรนด์คนไหนไม่อยากเจ๊ง
อยากให้ธุรกิจไปรอดต้องรีบอ่านหัวข้อนี้เลยครับ
วิธีคิด "หาปัญหา"
เป็นพื้นฐานติดตัวมาตั้งแต่ผมเรียนสัตวแพทย์
คนเราไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟ็ค
ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเป๊ะทุกข้อ
แต่ทุกครั้งที่เราค่อย ๆ ลบ "ปัญหา"
หรือ "จุดด้อย" ในธุรกิจได้
"ยอดขายจะขึ้นตามมาอัตโนมัติ"
ยอดขายจะขึ้นมากน้อยก็ขึ้นกับความสำคัญ
ของปัญหา และ stage ของแบรนด์ครับ
แต่สิ่งที่ผมพบบ่อย ๆ ว่าปัญหาทางตัน
ของเจ้าของแบรนด์เจอ
นั้นมี "ต้นเหตุ" อยู่ไม่มาก
และต้นเหตุที่ผมเจอมี 5 ข้อดังนี้ครับ
1 ) ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญ
ทุกคนมีเงินจำกัดโดยเฉพาะ SME
เราต้องก้าวข้ามผ่าน "ความมั่วใช้เงิน"
การที่เราจ่ายให้กับสิ่งที่ไม่จำเป็น
จะทำให้ธุรกิจเสียหายซ้ำสอง
ทุกวันนี้ผมก็ยังงว่า
ทำไมคนส่วนใหญ่อยากยิงโฆษณา
ทั้ง ๆ ที่ตัวเองยังไม่แน่ใจเลยว่า
พูดอะไรแล้วคนจะซื้อ?
โฆษณาเป็นการเสิร์ฟ
ใช่มันต้องจ่ายแหละในการทำธุรกิจ
แต่ไม่ใช่ประเด็นแรกที่ต้องโฟกัสหรอก
ผมคิดว่าคนเราต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับให้มาก
เพราะอันดับต้น ๆ สำคัญกว่าอันดับท้าย ๆ
และอันดับต้น ๆ นำความเปลี่ยนแปลงมาให้มากกว่าเสมอ
ตรวจตัวเองดี ๆ ว่า สิ่งที่จะต้องพัฒนาขั้นถัดไป
ปัญหาที่จะต้องรีบแก้พรุ่งนี้คืออะไร
ยอดขายจะพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ เองครับ
2 ) จมกองสต๊อค
ต้นทุนค่าผลิตสินค้าไม่ใช่ร่ายจ่ายที่จำเป็น
จะต้องทุ่มเทจนหมดหน้าตักหมดตัวกันขนาดนั้น
มันน่าแปลกที่เรายอมจ่ายจนหมด
แล้วมาเขียมกับค่าการตลาด
แต่ก็เข้าใจได้ครับ
เพราะว่าได้ซัดเต็มข้อไปกับค่าสินค้าจนหมดแล้ว
ประโยคที่ว่า "สินค้าดีจะขายตัวมันได้เอง"
เอ่อ ก็ใช่ครับ
แต่มันจะต้อง ถูกวางที่ ๆ มีคนเห็นเสมอ
และนั่นอาจจะมีราคาที่ต้องจ่ายในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ทำเลดี สินค้ามันก็ขายได้ด้วยตัวมันเองไง ...
เจ้าของแบรนด์ดังอยู่แล้ว สินค้ามันก็ขายได้ด้วยตัวมันเองไง
ผมเชื่อว่า สุดท้าย "ต้นทุนในการนำเสนอ" นั้นมีเสมอครับ
3 ) ไม่ใส่ใจ "ความแตกต่าง"
แม้กูรู ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์จะพร่ำบอกยังไงว่า
"สินค้าต้องมีความแตกต่าง"
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เรายังทำสินค้าเหมือน ๆ กัน
ข้ามสเต็ปไปผลิตโลโก้ สั่งซื้อสินค้า
ก่อนที่แบรนด์จะถูกคอนเฟิร์มด้วยซ้ำ
ว่ามันจะขายได้ด้วยความแตกต่างอะไร?
ความแตกต่างสร้างตำแหน่งที่แตกต่างในใจผู้บริโภค
และในแต่ละตำแหน่งในใจ มีสินค้าได้แค่แบรนด์เดียว
4 ) ยอมเรียนแต่ไม่ยอมเปลี่ยนตัวเอง
ผมเห็นคนเข้าสัมมนามากมาย
ที่เข้าไปแล้วออกมาทำเหมือนเดิม
ส่วนตัวของผมให้คำแนะนำคนไปเยอะมาก
ทั้ง inbox ทั้งเจอกันต่อหน้า
แต่ประเด็นคือกลับไปทำเหมือนเดิม
บางทีเราก็แค่ต้องทดสอบสมมติฐานทางธุรกิจ
แบบไหนดีก็ลองทำดู
ไม่ได้บอกว่าต้องเชื่อทุกคำ แต่เชื่อสิ
ว่าผู้สอนส่วนใหญ่ เค้าคิดมาดีแล้วระดับนึง
คิดมาเหมาะระดับนึงแล้ว
ไม่ถึงกับจับวางได้กับทุกธุรกิจหรอก
แต่มันมีเบาะแสให้เราลองทำตาม
5 ) ดูถูกลูกค้า
เหตุการณ์ที่เคยเกิดสมัยก่อน
อาจจะมีการย้อนรอย แต่จะไม่ย้อนรอยเป๊ะ ๆ
ทุกวันนี้มีหลาย Commuinty ที่มีเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง
ทุกธุรกิจเชื่อมโยงกัน
แต่ความแข็งแรงของแต่ละ community แตกต่างกัน
และเมื่อสังคมย่อย ๆ เกิดขึ้นในสังคมภาพใหญ่
ความต้องการละเอียดอ่อนจะค่อย ๆ เติบโตขึ้น
เหนือกว่าที่เคยต้องการ อยากได้มากกว่าที่เคยได้รับ
เจาะจงมากกว่าจะเป็น Mass
เราอย่าคิดทำธุรกิจที่มันย้อนยุคย้อนสมัย
คือเอาความคิดของลูกค้าแบบเดิม
มาใช้กับทุกวันนี้
เพราะราคาของความต้องการแบบพื้น ๆ
ได้ตกต่ำไปแล้ว ...
สินค้าจะแพง จะขายง่ายขึ้น
ต้องแตกต่างตั้งแต่ต้น
อย่าดูถูกลูกค้า อย่าคิดว่าเขาเหมือนเดิม
แล้วทำสินค้าแบบเดิม ๆ ออกมา
"เจ๊ง จน เหนื่อย" ครับ
คำถามสั้น ๆ ที่อาจจะต้องตอบกันเป็นแบบมหากาพย์
แต่ถ้าจะให้ตอบสั้น ๆ ผมจะขอตอบว่า
"เราต้องรู้ว่า ทำไมถึงขายไม่ได้"
ถ้าเจ้าของแบรนด์คนไหนไม่อยากเจ๊ง
อยากให้ธุรกิจไปรอดต้องรีบอ่านหัวข้อนี้เลยครับ
วิธีคิด "หาปัญหา"
เป็นพื้นฐานติดตัวมาตั้งแต่ผมเรียนสัตวแพทย์
คนเราไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟ็ค
ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเป๊ะทุกข้อ
แต่ทุกครั้งที่เราค่อย ๆ ลบ "ปัญหา"
หรือ "จุดด้อย" ในธุรกิจได้
"ยอดขายจะขึ้นตามมาอัตโนมัติ"
ยอดขายจะขึ้นมากน้อยก็ขึ้นกับความสำคัญ
ของปัญหา และ stage ของแบรนด์ครับ
แต่สิ่งที่ผมพบบ่อย ๆ ว่าปัญหาทางตัน
ของเจ้าของแบรนด์เจอ
นั้นมี "ต้นเหตุ" อยู่ไม่มาก
และต้นเหตุที่ผมเจอมี 5 ข้อดังนี้ครับ
1 ) ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญ
ทุกคนมีเงินจำกัดโดยเฉพาะ SME
เราต้องก้าวข้ามผ่าน "ความมั่วใช้เงิน"
การที่เราจ่ายให้กับสิ่งที่ไม่จำเป็น
จะทำให้ธุรกิจเสียหายซ้ำสอง
ทุกวันนี้ผมก็ยังงว่า
ทำไมคนส่วนใหญ่อยากยิงโฆษณา
ทั้ง ๆ ที่ตัวเองยังไม่แน่ใจเลยว่า
พูดอะไรแล้วคนจะซื้อ?
โฆษณาเป็นการเสิร์ฟ
ใช่มันต้องจ่ายแหละในการทำธุรกิจ
แต่ไม่ใช่ประเด็นแรกที่ต้องโฟกัสหรอก
ผมคิดว่าคนเราต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับให้มาก
เพราะอันดับต้น ๆ สำคัญกว่าอันดับท้าย ๆ
และอันดับต้น ๆ นำความเปลี่ยนแปลงมาให้มากกว่าเสมอ
ตรวจตัวเองดี ๆ ว่า สิ่งที่จะต้องพัฒนาขั้นถัดไป
ปัญหาที่จะต้องรีบแก้พรุ่งนี้คืออะไร
ยอดขายจะพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ เองครับ
2 ) จมกองสต๊อค
ต้นทุนค่าผลิตสินค้าไม่ใช่ร่ายจ่ายที่จำเป็น
จะต้องทุ่มเทจนหมดหน้าตักหมดตัวกันขนาดนั้น
มันน่าแปลกที่เรายอมจ่ายจนหมด
แล้วมาเขียมกับค่าการตลาด
แต่ก็เข้าใจได้ครับ
เพราะว่าได้ซัดเต็มข้อไปกับค่าสินค้าจนหมดแล้ว
ประโยคที่ว่า "สินค้าดีจะขายตัวมันได้เอง"
เอ่อ ก็ใช่ครับ
แต่มันจะต้อง ถูกวางที่ ๆ มีคนเห็นเสมอ
และนั่นอาจจะมีราคาที่ต้องจ่ายในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ทำเลดี สินค้ามันก็ขายได้ด้วยตัวมันเองไง ...
เจ้าของแบรนด์ดังอยู่แล้ว สินค้ามันก็ขายได้ด้วยตัวมันเองไง
ผมเชื่อว่า สุดท้าย "ต้นทุนในการนำเสนอ" นั้นมีเสมอครับ
3 ) ไม่ใส่ใจ "ความแตกต่าง"
แม้กูรู ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์จะพร่ำบอกยังไงว่า
"สินค้าต้องมีความแตกต่าง"
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เรายังทำสินค้าเหมือน ๆ กัน
ข้ามสเต็ปไปผลิตโลโก้ สั่งซื้อสินค้า
ก่อนที่แบรนด์จะถูกคอนเฟิร์มด้วยซ้ำ
ว่ามันจะขายได้ด้วยความแตกต่างอะไร?
ความแตกต่างสร้างตำแหน่งที่แตกต่างในใจผู้บริโภค
และในแต่ละตำแหน่งในใจ มีสินค้าได้แค่แบรนด์เดียว
4 ) ยอมเรียนแต่ไม่ยอมเปลี่ยนตัวเอง
ผมเห็นคนเข้าสัมมนามากมาย
ที่เข้าไปแล้วออกมาทำเหมือนเดิม
ส่วนตัวของผมให้คำแนะนำคนไปเยอะมาก
ทั้ง inbox ทั้งเจอกันต่อหน้า
แต่ประเด็นคือกลับไปทำเหมือนเดิม
บางทีเราก็แค่ต้องทดสอบสมมติฐานทางธุรกิจ
แบบไหนดีก็ลองทำดู
ไม่ได้บอกว่าต้องเชื่อทุกคำ แต่เชื่อสิ
ว่าผู้สอนส่วนใหญ่ เค้าคิดมาดีแล้วระดับนึง
คิดมาเหมาะระดับนึงแล้ว
ไม่ถึงกับจับวางได้กับทุกธุรกิจหรอก
แต่มันมีเบาะแสให้เราลองทำตาม
5 ) ดูถูกลูกค้า
เหตุการณ์ที่เคยเกิดสมัยก่อน
อาจจะมีการย้อนรอย แต่จะไม่ย้อนรอยเป๊ะ ๆ
ทุกวันนี้มีหลาย Commuinty ที่มีเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง
ทุกธุรกิจเชื่อมโยงกัน
แต่ความแข็งแรงของแต่ละ community แตกต่างกัน
และเมื่อสังคมย่อย ๆ เกิดขึ้นในสังคมภาพใหญ่
ความต้องการละเอียดอ่อนจะค่อย ๆ เติบโตขึ้น
เหนือกว่าที่เคยต้องการ อยากได้มากกว่าที่เคยได้รับ
เจาะจงมากกว่าจะเป็น Mass
เราอย่าคิดทำธุรกิจที่มันย้อนยุคย้อนสมัย
คือเอาความคิดของลูกค้าแบบเดิม
มาใช้กับทุกวันนี้
เพราะราคาของความต้องการแบบพื้น ๆ
ได้ตกต่ำไปแล้ว ...
สินค้าจะแพง จะขายง่ายขึ้น
ต้องแตกต่างตั้งแต่ต้น
อย่าดูถูกลูกค้า อย่าคิดว่าเขาเหมือนเดิม
แล้วทำสินค้าแบบเดิม ๆ ออกมา
"เจ๊ง จน เหนื่อย" ครับ