The Laws of Simplicity
Design Technology Business Life
สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือเล่มนี้ จะเป็นอะไรบ้างนั้นไปอ่านกันเลยครับ
- ผู้คนทำให้ถูกสับสนเพราะชีวิตดูเหมือนจะซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ
- การออกแบบอย่างเรียบง่าย นั้นเข้าถึงได้ง่ายและดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาหา
- การทำให้เรียบง่าย นั้นเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการออกแบบสินค้า
- การทำให้เรียบง่าย ไม่ได้แปลว่ากำจัดความสะดวกสบายหรือคุณภาพออกไป ในความจริงน้ันค่อนข้างจะตรงข้ามทีเดียว
- การทำให้เรียบง่าย ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร ก็แค่ “ลดลง”
- ถ้าสินค้านั้นมีประโยชน์มากกว่า 1 อย่าง จัดเรียงคุณสมบัติของสินค้า ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
- จงหาจุดที่ความเรียบง่ายกับความซับซ้อนผสมกันได้อย่างลงตัวกัน ทั้งในเรื่องการออกแบบและในเชิงธุรกิจ
-จงทำให้ End User (ผู้บริโภคที่ซื้อเพื่อไปใช้หรือบริโภคสินค้าจริง ๆ ) ประหยัดเวลา หรือถ้าไม่สามารถจงทำให้รู้สึกเช่นนั้นแทน
-สินค้าหรือบริการบางชนิดเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เรียบง่าย
Get Simple
ในโลกที่ซับซ้อนและน่าสับสน ธุรกิจที่สามารถพัฒนาคุณภาพสูงหรือสามารถทำให้ง่ายต่อการใช้นั้นเป็นทางด่วนที่จะทำให้สร้างกำไรได้มากมาย ลองดูตัวอย่างความนิยมของ iPod อันที่จริงสินค้านวัตกรรมที่ดูสวยงามนี้ไม่ได้ทำอะไรได้มากไปกว่าเครื่องเล่นเพลงอื่น ๆ แต่มันก็แพง และก็มีคนทั่วทุกมุมโลกยอมที่จะจ่าย
ส่วนต่างความพรีเมียมนี้ให้กับ Apple คล้ายกับกรณีของ Google Search Engine ที่ประสบความสำเร็จที่สุด แต่มี Interface (รูปลักษณ์ของ Program) เรียบง่ายที่สุด แต่ก็ทรงพลังที่สุดเช่นกัน
ข้อความที่เรียบง่ายนั้นทรงพลังในการขาย บริษัทและองค์กรต่าง ๆ กำลังพยายามกำจัดความซับซ้อนทั้งการปฏิบัติการภายในและภายนอกบริษัท กฎในการทำให้เรียบง่ายนั้น มี 10 ข้อดังนี้
1. Reduce (ลด)
ลดฟังก์ชันต่าง ๆ (เช่น ยาสมุนไพรเม็ดเดียวกินได้ตั้งแต่รักษาปวดข้อ ยันปวดหัว) รีโมตทีวีนั้นสามารถทำได้หลายอย่าง แต่น้อยคนนักที่จะกดทุกปุ่มบนรีโมต และฟังก์ชันส่วนใหญ่ของรีโมตนั้นไม่มีใครใช้ เปลี่ยนมาเสนอเฉพาะลักษณะสินค้าที่ลูกค้าต้องการ และไม่เสนอนอกเหนือจากนั้น ทำตามสเต็ป SHE ได้แก่
- Shrink (หด) ลดความเทอะทะจนน่ากลัวของอุปกรณ์ ทำให้มันดูน่าใช้ด้วยการลดขนาดมัน อุปกรณ์ ฌGadget ต่าง ๆ ที่เบาและมีขนาดเล็กนั้น ดูดีน่าใช้กว่าเยอะ
- Hide (ซ่อน) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นล้านทาง แต่โปรแกรมเมอร์และนักออกแบบได้พยายามหาทางทำให้มันออกมาดูไม่รกด้วยการใส่ Program ที่ใช้บ่อย ๆ ไว้บนหน้าจอ ซึ่งฟังก์ชันส่วนใหญ่นั้นถูกซ่อนไว้จนกว่าเราจะต้องการมัน
- Embody (ทำให้เป็นรูปเป็นร่าง) แน่นอนว่าเมื่อเราพยายามตัดทอนหรือซ่อนฟังก์ชันต่าง ๆ ให้แก้ไขความรู้สึกนี้ด้วยการใช้วัสดุคุณภาพสูงแทน สินค้าบางอย่างอาจจะออกแบบมาบางมาก แต่จะหนักเมื่อเทียบกับขนาดของมัน ระดับน้ำหนักจะบ่งบอกถึงคุณภาพอย่างอ้อม ๆ
2. Organize (จัดเรียง)
ผู้ใช้มักจะกลัวสิ่งที่จะต้องเลือกมากเกินไป อย่างเช่นปุ่มที่อยู่บนเครื่องควบคุมเสียง หรือเมนูที่ต้องเลื่อนลงไปดูไม่รู้จบ ทำสินค้าให้เรียบง่ายขึ้นโดยการถามคำถามเหล่านี้
- What to hide? ควรซ่อนอะไร
- Where to put it? ควรจะใส่มันที่ไหน
- What goes with what? อะไรควรอยู่กับอะไร
ใช้ SLIP เพื่อที่จะตอบคำถามสุดท้าย What goes with what?
Sort เขียนทุกข้อมูลของสินค้าลงไปในกระดาษ Post It 1 แผ่นต่อ 1 ข้อมูล เอามาวางโชว์ทั้งหมด แล้วจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน
Label เขียนว่าแต่ละกลุ่มนั้นคืออะไร
Integrate รวมกลุ่มเข้าด้วยกันเท่าที่เป็นไปได้
Prioritize จัดเรียงกลุ่มตามลำดับความสำคัญ
สมองของมนุษย์นั้นจะพยายามมองหารูปแบบมากกว่าที่จะจดจ่อกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
ดังนั้น จึงต้องทำให้สามารถมองหรือเดาภาพใหญ่ออกได้ เขาจะเห็นมากขึ้นเมื่อเห็นน้อยลง
3. Time
ถ้าเราช่วยลูกค้าประหยัดเวลาได้ เขาก็จะประทับใจในความเรียบง่ายนั้น อย่างในร้านแมคโดนัล ลูกค้ามักไม่เคยต้องอดทนรอในแถวนานนัก
การที่เอาตัวเลขบอกเวลาออกจากหน้าจอ ทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่รู้ว่าใช้เวลากับมันไปเท่าไหร่แล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคก็แค่สนใจว่าเครื่องกำลังประมวลผลอย่างรวดเร็ว และเขาต้องรอนานหรือเปล่า
อย่างการดาวน์โหลดไฟล์ในคอมพิวเตอร์ แท่งที่ขึ้นมาแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องรอดาวน์โหลดทั้งวัน สำคัญกว่านาฬิกาที่บอกเวลาด้วยซ้ำ
หรือใช้การออกแบบเพื่อบอกอ้อม ๆ ถึงความรวดเร็ว เช่นในรถยุค 1950 จะมี Spoiler (ครีบ ๆ ที่ติดอยู่ท้ายรถ) ทำให้รู้สึกเหมือนว่ามันเป็นเครื่องบินที่รวดเร็ว
หลักการ SHE สามารถนำมาประยุกต์กับเวลาได้ บีบเวลาที่ใช้ให้หดลง ถ้าทำไม่ได้จงซ่อนมัน จะทำให้สินค้าดูมีประโยชน์และน่าสนใจ อย่างเช่นเวลาที่ลูกค้าต้องรอแถวนาน ร้านอาหารจะให้คุกกี้หรือขนมอะไรเพื่อเป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าการรอนั้นสั้นลง
4. Learn
ความรู้ทำให้ทุกอย่างเรียบง่ายขึ้น คุณอาจจะคิดว่าการติดแก๊สด้วยตัวเองในเตาปิ้งนั่นง่าย แต่การทำตามคู่มือที่แถมมานั้นทำให้ประหยัดเวลากว่าเยอะ และการทำให้ข้อความในคู่มือนั้นเรียบง่ายขึ้นต้อง สเต็ป BRAIN
- Basics are The Beginning
ทดลองคิดว่าตัวเองเป็นลูกค้าที่ได้พบกับสินค้าของเราในครั้งแรก หรือถ้าให้ดี นำเอากลุ่มคนที่เราสนใจเข้ามาร่วมศึกษาการใช้สินค้าด้วยไปเลย เราจะเริ่มรู้ว่าอะไรคือพื้นฐานที่เราควรจะพูดเมื่อต้องอธิบายสิ่งใหม่
- Repeat Yourself Often
- Avoid Creating Desperation ถึงแม้ว่าคุณจะตื่นเต้นในการนำเสนอหมัดเด็ดของสินค้าทั้งหมด แต่นั่นจะทำให้ลูกค้าเริ่มสับสน จงนำเสนอสิ่งสำคัญไปทีละอย่าง
-Inspire with Examples การกระตุ้นความเข้าใจที่นำไปสู่การซื้อจากภายใน (ยกตัวอย่างคือการเปรียบเทียบกับสิ่งที่คนทั่วไปรู้อยู่แล้ว) ดีกว่าการแนะนำข้อมูลที่ค่อนข้างใหม่ อย่างเวลาที่เรามองดูคนที่เรายอมรับในผลงานของเขา ยิ่งทำให้เรามั่นใจและชัวร์กับทิศทางที่เรากำลังจะไป
-Neverr Forget to Repeat Yourself
จงสร้างความรู้สึกให้ลูกค้า “คุ้ยเคยทันที” (Instant Familarity) ต่อตัวสินค้า ต้องให้ลูกค้าสามารถจับคู่สิ่งที่เขาต้องการกับประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้ว แต่เปลี่ยนมันอยู่ในบริบทใหม่ ที่น่าตื่นเต้น พร้อมจะให้ลูกค้าได้เจอประสบการณ์ใหม่ในทันที
5. Difference
ความเรียบง่ายและความซับซ้อนต้องการซึ่งกันและกัน ถ้าไม่มีสิ่งที่ซับซ้อน เราก็จะไม่สังเกตเห็นความเรียบง่าย ส่วนต่างนี่แหละที่จะทำให้ทุกอย่างมองเห็นได้ ถ้าความเรียบง่ายคือท้องคลื่น ความซับซ้อนก็คือหลังคลื่น และสิ่งที่เรียบง่ายจนเกินไปนั้นก็น่าเบื่อ
6. Context
บางทีสิ่งที่อยู่รอบข้างก็สำคัญพอ ๆ กับสิ่งที่อยู่ตรงกลาง การโฟกัสนั้นสำคัญ แต่จะทำให้ตาของเรามองสิ่งรอบข้างเบลอ ถ้าหน้ากระดาษเต็มไปด้วยข้อความ มันจะดูแน่น ไม่น่าอ่าน การเติมช่องว่างจะทำให้มันดูน่าพลิกมาดูมากขึ้น ถึงแม้ว่าช่องว่างที่ใส่ลงไปหน้ากระดาษจะเป็นส่วนน้อยที่ไม่ค่อยสำคัญ แต่มันก็ทำให้หน้านั้นเข้าถึงได้มากขึ้น
7. Emotion
นักออกแบบสมัยใหม่มักจะออกแบบโดยไม่แต่งเติมอะไรมากมาย ขาว ดำ เงิน หรือ Chrome อย่าง iPod นั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ที่น่าสนใจก็คือผู้คนมักจะอยากรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่เขาได้ซื้อไป
ดังนั้น เราก็จะได้เห็นว่า ผู้คนนั้นซื้ออุปกรณ์ตกแต่งที่มีสีสันมากมาย อย่าลืมเรื่องอารมณ์ของผู้คน ประสิทธิภาพนั้นสำคัญมาก แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องคุณค่าอย่างเดียว หมอที่ใช้เวลาแค่ 10 นาทีในการพูดคุยกับคนไข้เรื่องการรักษามะเร็ง อาจจะเรียกว่าเป็นหมอที่มีประสิทธิภาพ แต่นั่นไม่ใช่การรักษาที่แท้จริง
8. Trust
ในกรณีของ Bang & Olufsen เป็นผู้นำด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดนมาร์ก บริษัทแสดงความเป็นผู้นำในคุณภาพ สไตล์การออกแบบ รวมถึงเรื่องราคา ด้วยความที่ Bang & Olufsen ละเอียดลออในการสร้างสินค้า ให้ง่ายต่อการใช้ ลูกค้าจึงชื่นชอบแบรนด์ ๆ นี้ และมั่นใจกับสินค้าราวกับที่มั่นใจว่าน้ำจะพยุงตัวเขาขณะที่ว่ายน้ำ
ผู้บริโภคบางกลุ่มเชื่อมั่นใน Amazon มาก จนยอมแลกข้อมูลกับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า จน Amazon สามารถเก็บข้อมูลจากชนิดหนังสือที่เราซื้้อ เพื่อที่จะแนะนำเล่มถัดไปที่เราน่าจะสนใจได้ทันที
9 Failure
ถ้าคุณไม่สามารถจะทำให้สินค้าหรือบริการเรียบง่ายได้จริง ๆ จงยอมรับความจริง อย่าเสียเวลาในการบรรลุเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ แทนที่จะมัวแต่วนเวียนอยู่ตรงนั้น จงเรียนรู้จากความผิดพลาดและความล้มเหลว มุมมองของเราจะเปลี่ยนและกว้างขึ้นเมื่อเราล้มเหลว ใช้ความล้มเหลวเป็นสิ่งทุ่นแรงเพื่อความสำเร็จในอนาคต
10. The one
ถ้าคุณไม่ต้องการจำกฎ 9 ข้อในการทำสินค้าให้เรียบง่าย จงจำไว้แค่อย่างเดียว
“จงลบความแตกต่างที่ไม่มีประโยชน์ และเติมสิ่งที่มีความหมายลงไป” ไม่มีสิ่งที่ไร้ประโยชน์บน iPod ทุกสิ่งมีอยู่เพื่อจุดประสงค์สักอย่าง หยุดและพักหายใจ"
ถึงแม้ว่าความซับซ้อนจะเกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มชีวิต แต่บ่อยครั้งนั่นทำให้เราเสื่อมลง
ในอดีตต่างคนต่างพบปะตกลงเงื่อนไขกันในความแตกต่าง แต่วันนี้เราต้องจ้างทนายเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ จงใฝ่หาความเรียบง่ายในชีวิต ถ้า Projector เสียจนไม่สามารถฉาย PowerPoint ได้ จงเล่าให้ผู้ฟังได้รับรู้ด้วยปากของเรา ถ้า iPhone เปิดเพลงที่คุณชอบไม่ได้ จงฮัมเพลงนั้นด้วยตัวเอง
ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ
Design Technology Business Life
สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือเล่มนี้ จะเป็นอะไรบ้างนั้นไปอ่านกันเลยครับ
- ผู้คนทำให้ถูกสับสนเพราะชีวิตดูเหมือนจะซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ
- การออกแบบอย่างเรียบง่าย นั้นเข้าถึงได้ง่ายและดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาหา
- การทำให้เรียบง่าย นั้นเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการออกแบบสินค้า
- การทำให้เรียบง่าย ไม่ได้แปลว่ากำจัดความสะดวกสบายหรือคุณภาพออกไป ในความจริงน้ันค่อนข้างจะตรงข้ามทีเดียว
- การทำให้เรียบง่าย ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร ก็แค่ “ลดลง”
- ถ้าสินค้านั้นมีประโยชน์มากกว่า 1 อย่าง จัดเรียงคุณสมบัติของสินค้า ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
- จงหาจุดที่ความเรียบง่ายกับความซับซ้อนผสมกันได้อย่างลงตัวกัน ทั้งในเรื่องการออกแบบและในเชิงธุรกิจ
-จงทำให้ End User (ผู้บริโภคที่ซื้อเพื่อไปใช้หรือบริโภคสินค้าจริง ๆ ) ประหยัดเวลา หรือถ้าไม่สามารถจงทำให้รู้สึกเช่นนั้นแทน
-สินค้าหรือบริการบางชนิดเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เรียบง่าย
Get Simple
ในโลกที่ซับซ้อนและน่าสับสน ธุรกิจที่สามารถพัฒนาคุณภาพสูงหรือสามารถทำให้ง่ายต่อการใช้นั้นเป็นทางด่วนที่จะทำให้สร้างกำไรได้มากมาย ลองดูตัวอย่างความนิยมของ iPod อันที่จริงสินค้านวัตกรรมที่ดูสวยงามนี้ไม่ได้ทำอะไรได้มากไปกว่าเครื่องเล่นเพลงอื่น ๆ แต่มันก็แพง และก็มีคนทั่วทุกมุมโลกยอมที่จะจ่าย
ส่วนต่างความพรีเมียมนี้ให้กับ Apple คล้ายกับกรณีของ Google Search Engine ที่ประสบความสำเร็จที่สุด แต่มี Interface (รูปลักษณ์ของ Program) เรียบง่ายที่สุด แต่ก็ทรงพลังที่สุดเช่นกัน
ข้อความที่เรียบง่ายนั้นทรงพลังในการขาย บริษัทและองค์กรต่าง ๆ กำลังพยายามกำจัดความซับซ้อนทั้งการปฏิบัติการภายในและภายนอกบริษัท กฎในการทำให้เรียบง่ายนั้น มี 10 ข้อดังนี้
1. Reduce (ลด)
ลดฟังก์ชันต่าง ๆ (เช่น ยาสมุนไพรเม็ดเดียวกินได้ตั้งแต่รักษาปวดข้อ ยันปวดหัว) รีโมตทีวีนั้นสามารถทำได้หลายอย่าง แต่น้อยคนนักที่จะกดทุกปุ่มบนรีโมต และฟังก์ชันส่วนใหญ่ของรีโมตนั้นไม่มีใครใช้ เปลี่ยนมาเสนอเฉพาะลักษณะสินค้าที่ลูกค้าต้องการ และไม่เสนอนอกเหนือจากนั้น ทำตามสเต็ป SHE ได้แก่
- Shrink (หด) ลดความเทอะทะจนน่ากลัวของอุปกรณ์ ทำให้มันดูน่าใช้ด้วยการลดขนาดมัน อุปกรณ์ ฌGadget ต่าง ๆ ที่เบาและมีขนาดเล็กนั้น ดูดีน่าใช้กว่าเยอะ
- Hide (ซ่อน) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นล้านทาง แต่โปรแกรมเมอร์และนักออกแบบได้พยายามหาทางทำให้มันออกมาดูไม่รกด้วยการใส่ Program ที่ใช้บ่อย ๆ ไว้บนหน้าจอ ซึ่งฟังก์ชันส่วนใหญ่นั้นถูกซ่อนไว้จนกว่าเราจะต้องการมัน
- Embody (ทำให้เป็นรูปเป็นร่าง) แน่นอนว่าเมื่อเราพยายามตัดทอนหรือซ่อนฟังก์ชันต่าง ๆ ให้แก้ไขความรู้สึกนี้ด้วยการใช้วัสดุคุณภาพสูงแทน สินค้าบางอย่างอาจจะออกแบบมาบางมาก แต่จะหนักเมื่อเทียบกับขนาดของมัน ระดับน้ำหนักจะบ่งบอกถึงคุณภาพอย่างอ้อม ๆ
2. Organize (จัดเรียง)
ผู้ใช้มักจะกลัวสิ่งที่จะต้องเลือกมากเกินไป อย่างเช่นปุ่มที่อยู่บนเครื่องควบคุมเสียง หรือเมนูที่ต้องเลื่อนลงไปดูไม่รู้จบ ทำสินค้าให้เรียบง่ายขึ้นโดยการถามคำถามเหล่านี้
- What to hide? ควรซ่อนอะไร
- Where to put it? ควรจะใส่มันที่ไหน
- What goes with what? อะไรควรอยู่กับอะไร
ใช้ SLIP เพื่อที่จะตอบคำถามสุดท้าย What goes with what?
Sort เขียนทุกข้อมูลของสินค้าลงไปในกระดาษ Post It 1 แผ่นต่อ 1 ข้อมูล เอามาวางโชว์ทั้งหมด แล้วจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน
Label เขียนว่าแต่ละกลุ่มนั้นคืออะไร
Integrate รวมกลุ่มเข้าด้วยกันเท่าที่เป็นไปได้
Prioritize จัดเรียงกลุ่มตามลำดับความสำคัญ
สมองของมนุษย์นั้นจะพยายามมองหารูปแบบมากกว่าที่จะจดจ่อกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
ดังนั้น จึงต้องทำให้สามารถมองหรือเดาภาพใหญ่ออกได้ เขาจะเห็นมากขึ้นเมื่อเห็นน้อยลง
3. Time
ถ้าเราช่วยลูกค้าประหยัดเวลาได้ เขาก็จะประทับใจในความเรียบง่ายนั้น อย่างในร้านแมคโดนัล ลูกค้ามักไม่เคยต้องอดทนรอในแถวนานนัก
การที่เอาตัวเลขบอกเวลาออกจากหน้าจอ ทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่รู้ว่าใช้เวลากับมันไปเท่าไหร่แล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคก็แค่สนใจว่าเครื่องกำลังประมวลผลอย่างรวดเร็ว และเขาต้องรอนานหรือเปล่า
อย่างการดาวน์โหลดไฟล์ในคอมพิวเตอร์ แท่งที่ขึ้นมาแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องรอดาวน์โหลดทั้งวัน สำคัญกว่านาฬิกาที่บอกเวลาด้วยซ้ำ
หรือใช้การออกแบบเพื่อบอกอ้อม ๆ ถึงความรวดเร็ว เช่นในรถยุค 1950 จะมี Spoiler (ครีบ ๆ ที่ติดอยู่ท้ายรถ) ทำให้รู้สึกเหมือนว่ามันเป็นเครื่องบินที่รวดเร็ว
หลักการ SHE สามารถนำมาประยุกต์กับเวลาได้ บีบเวลาที่ใช้ให้หดลง ถ้าทำไม่ได้จงซ่อนมัน จะทำให้สินค้าดูมีประโยชน์และน่าสนใจ อย่างเช่นเวลาที่ลูกค้าต้องรอแถวนาน ร้านอาหารจะให้คุกกี้หรือขนมอะไรเพื่อเป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าการรอนั้นสั้นลง
4. Learn
ความรู้ทำให้ทุกอย่างเรียบง่ายขึ้น คุณอาจจะคิดว่าการติดแก๊สด้วยตัวเองในเตาปิ้งนั่นง่าย แต่การทำตามคู่มือที่แถมมานั้นทำให้ประหยัดเวลากว่าเยอะ และการทำให้ข้อความในคู่มือนั้นเรียบง่ายขึ้นต้อง สเต็ป BRAIN
- Basics are The Beginning
ทดลองคิดว่าตัวเองเป็นลูกค้าที่ได้พบกับสินค้าของเราในครั้งแรก หรือถ้าให้ดี นำเอากลุ่มคนที่เราสนใจเข้ามาร่วมศึกษาการใช้สินค้าด้วยไปเลย เราจะเริ่มรู้ว่าอะไรคือพื้นฐานที่เราควรจะพูดเมื่อต้องอธิบายสิ่งใหม่
- Repeat Yourself Often
- Avoid Creating Desperation ถึงแม้ว่าคุณจะตื่นเต้นในการนำเสนอหมัดเด็ดของสินค้าทั้งหมด แต่นั่นจะทำให้ลูกค้าเริ่มสับสน จงนำเสนอสิ่งสำคัญไปทีละอย่าง
-Inspire with Examples การกระตุ้นความเข้าใจที่นำไปสู่การซื้อจากภายใน (ยกตัวอย่างคือการเปรียบเทียบกับสิ่งที่คนทั่วไปรู้อยู่แล้ว) ดีกว่าการแนะนำข้อมูลที่ค่อนข้างใหม่ อย่างเวลาที่เรามองดูคนที่เรายอมรับในผลงานของเขา ยิ่งทำให้เรามั่นใจและชัวร์กับทิศทางที่เรากำลังจะไป
-Neverr Forget to Repeat Yourself
จงสร้างความรู้สึกให้ลูกค้า “คุ้ยเคยทันที” (Instant Familarity) ต่อตัวสินค้า ต้องให้ลูกค้าสามารถจับคู่สิ่งที่เขาต้องการกับประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้ว แต่เปลี่ยนมันอยู่ในบริบทใหม่ ที่น่าตื่นเต้น พร้อมจะให้ลูกค้าได้เจอประสบการณ์ใหม่ในทันที
5. Difference
ความเรียบง่ายและความซับซ้อนต้องการซึ่งกันและกัน ถ้าไม่มีสิ่งที่ซับซ้อน เราก็จะไม่สังเกตเห็นความเรียบง่าย ส่วนต่างนี่แหละที่จะทำให้ทุกอย่างมองเห็นได้ ถ้าความเรียบง่ายคือท้องคลื่น ความซับซ้อนก็คือหลังคลื่น และสิ่งที่เรียบง่ายจนเกินไปนั้นก็น่าเบื่อ
6. Context
บางทีสิ่งที่อยู่รอบข้างก็สำคัญพอ ๆ กับสิ่งที่อยู่ตรงกลาง การโฟกัสนั้นสำคัญ แต่จะทำให้ตาของเรามองสิ่งรอบข้างเบลอ ถ้าหน้ากระดาษเต็มไปด้วยข้อความ มันจะดูแน่น ไม่น่าอ่าน การเติมช่องว่างจะทำให้มันดูน่าพลิกมาดูมากขึ้น ถึงแม้ว่าช่องว่างที่ใส่ลงไปหน้ากระดาษจะเป็นส่วนน้อยที่ไม่ค่อยสำคัญ แต่มันก็ทำให้หน้านั้นเข้าถึงได้มากขึ้น
7. Emotion
นักออกแบบสมัยใหม่มักจะออกแบบโดยไม่แต่งเติมอะไรมากมาย ขาว ดำ เงิน หรือ Chrome อย่าง iPod นั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ที่น่าสนใจก็คือผู้คนมักจะอยากรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่เขาได้ซื้อไป
ดังนั้น เราก็จะได้เห็นว่า ผู้คนนั้นซื้ออุปกรณ์ตกแต่งที่มีสีสันมากมาย อย่าลืมเรื่องอารมณ์ของผู้คน ประสิทธิภาพนั้นสำคัญมาก แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องคุณค่าอย่างเดียว หมอที่ใช้เวลาแค่ 10 นาทีในการพูดคุยกับคนไข้เรื่องการรักษามะเร็ง อาจจะเรียกว่าเป็นหมอที่มีประสิทธิภาพ แต่นั่นไม่ใช่การรักษาที่แท้จริง
8. Trust
ในกรณีของ Bang & Olufsen เป็นผู้นำด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดนมาร์ก บริษัทแสดงความเป็นผู้นำในคุณภาพ สไตล์การออกแบบ รวมถึงเรื่องราคา ด้วยความที่ Bang & Olufsen ละเอียดลออในการสร้างสินค้า ให้ง่ายต่อการใช้ ลูกค้าจึงชื่นชอบแบรนด์ ๆ นี้ และมั่นใจกับสินค้าราวกับที่มั่นใจว่าน้ำจะพยุงตัวเขาขณะที่ว่ายน้ำ
ผู้บริโภคบางกลุ่มเชื่อมั่นใน Amazon มาก จนยอมแลกข้อมูลกับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า จน Amazon สามารถเก็บข้อมูลจากชนิดหนังสือที่เราซื้้อ เพื่อที่จะแนะนำเล่มถัดไปที่เราน่าจะสนใจได้ทันที
9 Failure
ถ้าคุณไม่สามารถจะทำให้สินค้าหรือบริการเรียบง่ายได้จริง ๆ จงยอมรับความจริง อย่าเสียเวลาในการบรรลุเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ แทนที่จะมัวแต่วนเวียนอยู่ตรงนั้น จงเรียนรู้จากความผิดพลาดและความล้มเหลว มุมมองของเราจะเปลี่ยนและกว้างขึ้นเมื่อเราล้มเหลว ใช้ความล้มเหลวเป็นสิ่งทุ่นแรงเพื่อความสำเร็จในอนาคต
10. The one
ถ้าคุณไม่ต้องการจำกฎ 9 ข้อในการทำสินค้าให้เรียบง่าย จงจำไว้แค่อย่างเดียว
“จงลบความแตกต่างที่ไม่มีประโยชน์ และเติมสิ่งที่มีความหมายลงไป” ไม่มีสิ่งที่ไร้ประโยชน์บน iPod ทุกสิ่งมีอยู่เพื่อจุดประสงค์สักอย่าง หยุดและพักหายใจ"
ถึงแม้ว่าความซับซ้อนจะเกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มชีวิต แต่บ่อยครั้งนั่นทำให้เราเสื่อมลง
ในอดีตต่างคนต่างพบปะตกลงเงื่อนไขกันในความแตกต่าง แต่วันนี้เราต้องจ้างทนายเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ จงใฝ่หาความเรียบง่ายในชีวิต ถ้า Projector เสียจนไม่สามารถฉาย PowerPoint ได้ จงเล่าให้ผู้ฟังได้รับรู้ด้วยปากของเรา ถ้า iPhone เปิดเพลงที่คุณชอบไม่ได้ จงฮัมเพลงนั้นด้วยตัวเอง
ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ