สรุปหนังสือ The Last Lecture l SALESARM


Blog Detail

การบรรยายครั้งสุดท้าย
ผู้เขียน : Randy Pausch


สาระสำคัญ...
  • แรนดี้ พอช ศาสตราจารย์ที่ป่วยระยะสุดท้าย สามี และพ่อ แนะนำบทเรียนอันล้ำค่าของชีวิตในการบรรยายครั้งสุดท้ายของเขาในมหาวิทยาลัย
  • เขายินดีมากที่การบรรยายของเขามีผู้ฟังทั่วโลก แต่จุดประสงค์ของเขาคือการทิ้งมรดกไว้ให้กับภรรยาและลูกเล็ก ๆ ของเขาทั้ง 3 คน
  • พอชทำให้ความฝันส่วนใหญ่ในวัยเด็กของตัวเขาเป็นจริงได้ ความฝันเหล่านั้นเองที่สร้างพื้นฐานให้กับความเป็นมืออาชีพ และความสำเร็จของตัวเขา
  • เขาสอนว่า คุณเองก็สามารถทำฝันให้เป็นจริงได้เช่นกัน
  • บทเรียนอื่น ๆ ของเขากล่าวถึงการให้คุณค่ากับคนมากกว่าสิ่งของ
  • สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง โดยการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพยายามทำมันให้สมบูรณ์แบบที่สุด
  • จงซาบซึ้งคำอวยพรของชีวิต ที่ช่วยให้คุณผ่านพ้นจากอุปสรรค
  • การบ่นเป็นสิ่งที่เสียเวลา และไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย
  • เวลาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด อย่าปล่อยมันไปโดยเปล่าประโยชน์
  • อย่ากลัวที่จะล้มเหลว เพราะนั่นคือการที่คุณจะเติบโต


คุณจะเรียนรู้อะไร บทความสรุปชิ้นนี้คุณจะได้รู้ว่า

1) แรนดี้ พอช ศาสตราจารย์ที่ใกล้เสียชีวิต นำเสนอบทเรียนที่เขาเคยเรียนรู้มาอย่างไร

2) ความฝันในวัยเด็กเพาะเมล็ดพันธุ์ให้กับชีวิตที่มีความหมายได้อย่างไร

3) วิธีการเลี้ยงเด็กที่อยากรู้ อยากเห็น และมองโลกในแง่ดีทำอย่างไร

4) ทำไมความสุขถึงเกิดขึ้นไม่ได้ หากไร้ความซาบซึ้งใจ


ก่อนเริ่มเรื่อง
          ในวันที่ 4 กรกฎาคม 1939 ลู เกริค นักเบสบอลผู้มีชื่ออยู่ในหอเกียรติยศป่วยหนักด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) เขาบอกต่อหน้ามหาชนในสนามแยงกีว่า “เขาเป็นคนที่โชคดีที่สุดในโลก” 68 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แรนดี พอช ซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ได้ถ่ายทอดการบรรยายครั้งสุดท้ายของเขา เช่นเดียวกับเกริค พอช ใช้โอกาสในการแสดงความซาบซึ้งแทนที่จะสนใจความโชคร้ายของเขา ในการนำเสนอความยาวร่วมชั่วโมงที่ได้รับคำสรรเสริญจากทั่วโลก เมื่อมันถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต พอชสรุปปรัชญาของเขา และพูดถึงความสำคัญของความทะเยอทะยาน ความขยัน และความพยายาม จุดประสงค์หลักของพอชคือ การมอบมรดกที่มากด้วยความหมายให้กับลูกทั้งสามคนของเขา และเขาก็ทำได้สำเร็จอย่างดีเยี่ยม หนังสือของเขามีชื่อว่า Really Achieving Your Childhood Dreams เขียนโดยเจฟฟรี แซสโลว์ ขยายหัวข้อทั้งหลายในการบรรยายของพอช พอชจัดหาคำแนะนำเพื่อชีวิตที่มีความสุขมามอบให้ คุณจะพบว่าคุณภาพอะไรที่ทำให้เขาเป็นคนพิเศษ คุณจะนับคำอวยพรของคุณ คุณต้องร้องไห้ คุณอาจจะรู้สึกละอายกับเวลาที่คุณจมอยู่กับการสงสารตัวเอง

เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนสามารถวาดภาพแรงบันดาลใจจากชายที่โดดเด่นคนนี้ที่มีความสุขกับชีวิต แม้ว่าเขาจะกำลังเผชิญกับความตายที่มาถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2008


บทความโดยย่อ

คำเย้ยหยันสุดท้าย

          หลายมหาวิทยาลัยจัดให้มี “การบรรยายครั้งสุดท้าย” แบบเป็นชุด ซึ่งพวกมันทำให้เหล่าอาจารย์จินตนาการว่าพวกเขากำลังจะตาย และคิดถึงว่าความรู้ หลักปรัชญา หรือความเชื่อใดที่พวกเขาอยากจะส่งต่อให้ได้ก่อนตาย การเข้าร่วมงานของแรนดี พอชที่ Carnegie Mellon ที่ถูกตั้งชื่อใหม่ว่า “Journey” นำเสนอคำเย้ยหยันสุดท้าย พอช ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียง เตรียมตัวสำหรับการบรรยายครั้งสุดท้ายของเขาโดยที่รู้ตัวว่ากำลังจะตายด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน

          อารมณ์ที่ขัดแย้งกันทำให้พอชทรมานขณะที่เขาเตรียมการบรรยายของเขา การทำนายอาการล่วงหน้าของโรคบอกว่าเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงไม่กี่เดือน และแน่นอนว่าเขาสามารถยกเลิกการบรรยายได้ พอชเป็นทั้งสามีของไจและพ่อของลูก ๆ อีกสามคนอายุ 5 ขวบ 2 ขวบ และ 1 ขวบ พอชมีเวลาแห่งความสุขกับคนที่รักเหลืออยู่ไม่มากนัก

          พวกเขาเพิ่งย้ายมาจากเมืองพิทส์เบิร์กที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสู่รัฐเวอร์จิเนียที่ครอบครัวของไจอาศัยอยู่ เธอไม่สบอารมณ์นักที่เที่ยวบินกลับพิทส์เบิร์กเพื่อการบรรยายของเขาตรงกับวันเกิดครบรอบ 41 ปีของเธอซึ่งเป็นวันเกิดครั้งสุดท้ายที่ทั้งสองจะได้ฉลองพร้อมกัน

          อย่างไรก็ตามพอชก็คิดได้ว่า การบรรยายของเขาสามารถเป็นสมบัติให้กับลูก ๆ ของเขาได้ เขาอยากให้ลูก ๆ เข้าใจว่า เขายืนหยันเพื่ออะไรและเขาเป็นใครด้วยคำอวยพรของไจ พอชเตรียมการพูดที่เน้นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและมีความหมาย และความสำคัญของการนึกถึงความฝันของคุณ ในวันที่ 18 กันยายน 2007 พอชอายุ 46 กล่าวต่อหน้าผู้ชม 400 รวมภรรยาของเขาด้วย พอชเปิดประเด็นด้วยคำพูดจากพ่อของเขา
 
“หากในห้องมีช้างอยู่ตัวหนึ่ง จงแนะนำมันให้เป็นที่รู้จัก
 
ดังนั้นนั่นคือสิ่งที่เขาทำ เขาเริ่มจากการอธิบายเงื่อนไขของเขาและความตายที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า


ขอบคุณและตอบแทนพ่อแม่ที่ยอดเยี่ยมของคุณ

          พอชเติบโตใกล้ ๆ กับเมืองบัลติมอร์ในครอบครัวชั้นกลางที่น่าเชื่อถือซึ่งให้ความสำคัญกับคุณธรรมและการศึกษา อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงวัตถุนิยม แม่ของพอชเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ทะเยอทะยานมากและเธอก็คาดหวังจากลูกศิษย์และลูก ๆ ของเธออย่างมาก พ่อของพอชได้รับเหรียญกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่แพทย์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาต่อสู้เพื่อคนด้อยโอกาส ธุรกิจประกันรถยนต์ขนาดย่อม ๆ ของเขามีลูกค้าหลักคือคนจนในเมืองที่โดยปกติแล้วจะไม่ผ่านเงื่อนไขในการประกัน

          ครอบครัวนี้ใช้เงินกับสิ่งที่จำเป็นในชีวิตและเป้าหมายที่สำคัญไม่ใช่กับการดูหนังหรือทานข้าวในร้านอาหาร พ่อแม่ของพอชให้ทุนกับหอพักในประเทศไทยเพื่อช่วยให้เด็กผู้หญิงในโรงเรียนปลอดภัยจากการค้าประเวณี หัวข้อที่คุยกันบนโต๊ะทานข้าวของครอบครัวนี้เป็นการกระตุ้นความคิดต่าง ๆ ถ้าพอชมีคำถาม เขาจะหาคำตอบในพจนานุกรมหรือสารานุกรม เขานับถือหลักจริยธรรมของพ่ออย่างมาก และเขาพยายามฝึกฝนแบบเดียวกันเมื่อเป็นผู้ใหญ่

          พ่อแม่ของพอชสนับสนุนให้เขาฝันและใช้จินตนาการ เขานอนบนเตียงสองชั้นที่พ่อทำให้ ช่วงที่เรียนมัธยมปลายเขาทาสีตกแต่งกำแพงห้องนอนของเขาอย่างมีเอกลักษณ์ รวมถึงสูตรคณิตศาสตร์ ประตูลิฟต์ขนาดใหญ่ เรือดำน้ำ หมากรุกและกล่อง Pandora พ่อของเขาอนุมัติการตกแต่งเหล่านี้อย่างหนักแน่น ขณะที่แม่ของเขาค่อยยอมรับ แต่หลังจากนั้นก็รู้สึกภูมิใจในตัวลูกชายของเธออย่างมาก พวกเขาไม่ทาสีทับที่กำแพงห้องนอนของพอชเลย


ความฝันในตอนเด็กกลายเป็นความจริง
ในสไลด์หนึ่งที่พอชแสดงระหว่างการบรรยายกล่าวถึงความฝันในวัยเด็กของเขา 6 ข้อ
  • อยู่ในสภาวะโน้มถ่วงเป็นศูนย์
  • เล่นในลีกอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล
  • เขียนบทความให้กับสารานุกรมเวิลด์บุ๊ค
  • เป็นกัปตันเคิร์ก
  • ได้รางวัลเป็นตุ๊กตาสัตว์
  • เป็นจินตวิศวกรของดิสนีย์
พอชเคยสัมผัสกับภาวะไร้น้ำหนักและในปี 2001 กลุ่มของนักเรียนของเขาและยื่นคำขอไปที่นาซ่าสำหรับโปรเจ็ค ความเป็นจริงเสมือนบนเครื่องบินไร้แรงโน้มถ่วงของนาซ่า สมาชิกของทางคณะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการขึ้นเครื่องพร้อมกับนักศึกษา ดังนั้นโดยความคิดอันฉับไวของผอให้เขาลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาของคณะและบินในฐานะผู้เขียนข่าวของงานนี้ ถึงแม้ว่าเขาจะชอบกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่ถึงเนื้อถึงตัว พอชก็ไม่เคยเล่นในเกมระดับอาชีพเลย แต่เขาก็ได้เรียนรู้บทเรียนที่มีคุณค่าจากโค้ชของเขา อดีตผู้เล่นไลน์แบ็คของ Penn State จิม เกรแฮม สอนพล๊อตเรื่องความสำคัญของพื้นฐาน ความขยัน และความพยายาม ผู้เล่นของเกรแฮมพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเองด้วยการเรียนรู้ทักษะใหม่ใหม่และฝึกฝนทักษะเหล่านั้นอย่างซ้ำไปมาเรื่อย ๆ

พอชนำเอาปรัชญาของเกรแฮมและพยายามสอนลูกศิษย์ของเขาให้เผชิญหน้ากับความยากลำบาก เปรียบเช่นการเล่นเป็นทีมและเป็นนักกีฬาที่ดี เพราะครอบครัวของเขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการรู้จักตัวเอง พอชจึงรักการอ่านหนังสือและคาดหมายอย่างมากกับการตีพิมพ์ของหนังสือรุ่นประจำปี เขานึกฝันอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการเป็นผู้ให้ เขามีโอกาสเมื่อหลายปีที่ผ่านมาเมื่อบรรณาธิการของหนังสือ World Book ชักชวนให้เขาเขียนบันทึกเรื่องความเป็นจริงเสมือนหนึ่งในต้นแบบในวัยเด็กของพอชคือกัปตันเคิร์กผู้บังคับบัญชาที่เชื่อมั่นในตัวเองของ Starship Enterprise จาก ภาพยนตร์เรื่อง Star Trek พอชชื่นชอบในภาวะผู้นำของเคิร์กและทักษะการจัดการรวมถึงวิธีการที่เขามอบอำนาจรับผิดชอบให้ผู้แทนขณะที่กำลังสร้างจุดประสงค์หนึ่งเดียวและวิสัยทัศน์ให้กับลูกทีม วิลเลี่ยม แชทเนอร์ นักแสดงที่รับบทเป็นกัปตันเคิร์กได้เยี่ยมชมห้องทดลองเกี่ยวกับความเป็นจริงเสมือนของพอช ขณะที่เขาเป็นนักเขียนร่วมของหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์นึกถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากมายในเรื่อง Star Trek อย่างไร แชทเนอร์ใช้เวลา 3 ชั่วโมงในห้องทดลองนั้นและถามคำถามมากมาย เมื่อเขาทราบถึงอาการป่วยของพอช แชทเนอร์ส่งรูปของเคิร์กพร้อมจารึกด้วยคำพูดของเคิร์กในตอนหนึ่งของ Star Trek ว่า “ฉันไม่เชื่อในสถานการณ์ที่หมดหวัง”

พอชสืบทอดความรักที่พ่อเขามีต่อตุ๊กตาสัตว์ตัวใหญ่ซึ่งคุณอาจจะปาลูกโป่งที่งานวัดแล้วได้มันมา พอชสะสมไว้ 2-3 ตัวหลังจากผ่านมาหลายปี และเขาก็เอาพวกมันขึ้นเวทีด้วยระหว่างการบรรยายครั้งสุดท้าย เขาเชิญชวนให้ผู้ฟังขึ้นมาบนเวทีและนำตุ๊กตาสัตว์เหล่านั้นกลับบ้าน นักศึกษาที่เป็นโรคมะเร็งเหมือนกันได้เลือกเอาตุ๊กตาช้างตัวใหญ่กลับไปเพราะเธอจะได้คุยกับช้างได้เหมือนกัน

พอชหลงใหลกับดิสนีย์แลนด์ตอนที่เขาไปเที่ยวเมื่อตอนอายุ 8 ขวบ หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาไม่สามารถสมัครตำแหน่งจินตวิศวกรของวอลท์ดิสนีย์ได้สำเร็จ เมื่อพอชเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนียในปี 1995 เขาได้ยินมาว่าดิสนีย์รับหน้าที่เกี่ยวกับความเป็นจริงเสมือนซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่เขาสนใจ เขาใช้เวลา 6 เดือนในช่วงเวลาพักผ่อนของเขาเพื่อทำงานกับทีมจินตวิศวกรรม


มุ่งหน้าไปสู่ช่วงเวลาที่ ยากลำบาก

ช่วงฤดูร้อนปี 2006 พอชได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนซึ่งเป็นโรคที่เสี่ยงตายมากที่สุด เขาเผชิญกับการผ่าตัดเป็นบริเวณกว้าง ตามมาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีซึ่งทำให้เขาน้ำหนักลดจาก 182 ปอนด์เป็น 138 ปอนด์ เดือนมกราคม 2007 CAT สแกนได้ผลชัดเจนแต่สแกนอีกครั้งในเดือนตุลาคมเผยว่ามะเร็งได้ลามไปสู่ตับของเขาแล้ว ภาพของเขาระบุว่าเขาจะมีสุขภาพที่ดีอีกเพียง 3 ถึง 6 เดือน หลังจากที่เขาได้รับข่าวที่น่าตกใจนั้น พอชบอกกับภรรยาของเขาว่าเขาจะตั้งใจทำทุกวันให้ดีที่สุด ที่จริงแล้วรองอธิการบดีของ Carnegie Mellon เห็นพอชขับรถเปิดประทุนแล้วกระดิกนิ้วตามจังหวะของเพลงในวิทยุ เธอทราบถึงอาการป่วยของพอช เธอจึงอีเมล์บอกเขาว่าเธอประทับใจมากแค่ไหนกับอารมณ์และทัศนคติของเขา


บทเรียนเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตน

พอชได้รับบทเรียนที่สำคัญขณะที่เขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยบราวน์ที่ฉลาดแต่สะเพร่า เขาเป็นผู้ช่วยสอนของอาจารย์วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงผู้ที่บอกเขาว่าความเย่อหยิ่งและปรับตัวได้ยากของเขาจะกีดกันเขาจากการทำความสำเร็จให้ได้สูงที่สุด พอชเห็นคุณค่าของคำแนะนำที่ตรงไปตรงมานี้และน้อมรับความสำคัญของการรู้จักคนที่บอกสิ่งที่คุณต้องการได้ยิน ไม่ใช่สิ่งที่คุณอยากได้ยิน


เรื่องของมุมมอง

เช่นเดียวกับพ่อแม่ของเขา พอชใช้เงินไปกับสิ่งของน้อยมาก เมื่อเขาเป็นนักศึกษาปริญญาตรีบ่อยครั้งที่เขาเล่นกับลูกทั้งสองของพี่สาว ครั้งหนึ่งเขาพาเด็ก ๆ ขึ้นรถ Volkswagen เปิดประทุนคันใหม่ของเขา พี่สาวของเขาเตือนลูก ๆ ไม่ให้ทำรถสกปรก ซึ่งเป็นสิ่งที่พอชคิดว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่เด็ก ๆ จะเชื่อฟัง ทันใดนั้นเองพอชก็เทน้ำอัดลมลงไปที่เบาะหลังเพื่อสื่อความหมายว่า “คนสำคัญกว่าสิ่งของ” สุดสัปดาห์นั้นหลานชายของเขาอาเจียนทั่วเบาะหลัง พอชรู้สึกดีที่เขาได้แสดงให้หลานเห็นก่อนหน้านั้นแล้วว่าเขาจะไม่โกรธ
วันหนึ่งพอชเดินไปทำงาน ไจได้ถอยรถมินิแวนออกจากโรงรถและชนกับรถเปิดประทุนของพอชที่จอดอยู่ เธอกังวล ทั้งวันว่าเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เธอเตรียมอาหารที่เขาชอบและพยายามทำตัวให้น่ารักเป็นพิเศษ พอชแทบจะไม่มีปฏิกิริยากับข่าวร้ายนั้นเลย ถึงขนาดเลือกที่จะไม่ซ่อมส่วนที่เสียหายเพราะว่ารถทั้งสองคันจะได้พร้อมใช้งานเต็มที่ ครอบครัวพอชก็เลยขับรถที่บู้บี้แบบนั้น


ฝันในฝันที่เป็นไปได้

ตอนที่พอชอายุ 8 ขวบเขาเข้าค่ายซัมเมอร์แล้วเขาก็นั่งจ้องหน้าทีวีชม นีล อาร์มสตรอง เตรียมพร้อมที่จะเหยียบดวงจันทร์ การกระทำนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับความเชื่อของพอชที่ว่าไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ แต่ว่าเขาก็ไม่ได้เห็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์นั้นเพราะคนคุมค่ายพาเด็ก ๆ เข้านอนเสียก่อน อย่างไรก็ตามในอดีตก่อนที่จะมีการอัดวิดีโอพ่อของพอชคิดว่านี่เป็นเหตุการณ์สำคัญและถ่ายรูปจอโทรทัศน์ตอนอาร์มสตรองสัมผัสกับพื้นผิวดวงจันทร์เอาไว้ บางครั้งพอชก็สันนิษฐานว่าเหตุการณ์ที่สร้างแรงบันดาลใจต้องการให้คุณเป็นคนปรับตัวได้ง่ายและยืดหยุ่นต่อข้อบังคับ ประวัติศาสตร์สำคัญกว่าเวลาเข้านอน


เลิกบ่นและลงมือทำ

พอชเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทัศนคติจากเจ้าของบัณฑิตวิทยาลัยผู้ซึ่งเคยเป็นนักกีฬาที่โดดเด่น อุบัติเหตุจากการทำงานทำให้เขาเป็นอัมพาตและคู่หมั้นของเขาก็ทิ้งไป แต่แทนที่จะจมอยู่ในความสงสารตัวเอง เขากลับกลายมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการจดทะเบียนสมรส เขาแต่งงานและรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยง และเขาก็ไม่เคยบ่นเลย พอชก็รับแรงบันดาลใจจากแจ็กกี้ โรบินสัน ผู้ที่ต้องอดทนต่อคำพูดเสียดสี คำเยาะเย้ย และคำขู่ที่จะทลายอุปสรรคเรื่องสีผิวในลีกเบสบอลของอเมริกา การโอดครวญกับความไม่ยุติธรรมของชีวิตต้องใช้เวลาและความพยายาม มันจะไม่พาคุณก้าวหน้าไปไหน และคุณก็จะย่ำแย่อยู่แบบนี้


มีความสุขหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวคุณ

หลายคนที่ป่วยไม่เชื่อว่าพวกเขาจะมีความสนุกในชีวิต แต่ไม่ใช่พอช ทั้งครอบครัวของเขาแต่งตัวเป็นตัวการ์ตูนเรื่อง Incredibles ในวันฮัลโลวีน นอกจากนี้ พอชยังไปดำน้ำแบบสกูบ้ากับเพื่อนสนิทอีก 3 คนซึ่งพวกเขากังวลกับอาการป่วยของพอชอย่างมาก พวกเขาทำตัวเหมือนเด็กวัยรุ่นและหลีกเลี่ยงที่จะคุยเรื่องมะเร็ง หลังจากที่พอชถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง เขาทำหมันและซื้อรถเปิดประทุนคันใหม่ การกระทำที่มองถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าเช่นนั้นสนับสนุนทัศนคติด้านบวกของเขา และยิ่งไปกว่านั้นมันทำให้เขาฝันว่าจะหายจากโรคนี้


เพื่อประโยชน์ของครอบครัว

สถานการณ์ที่เลวร้ายของเขามีผลกระทบกับครอบครัวมากเมื่อพอชครุ่นคิดถึงอนาคตของลูก ๆ ที่ปราศจากพ่อ พอชและไจตัดสินใจในตอนแรกว่าจะไม่บอกลูก ๆ เกี่ยวกับโรคของเขา และรอจนกระทั่งเขาโรค “แสดงอาการ” เขาเก็บทุก ๆ นาทีที่มีความหมายไว้ในการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก ๆ คนที่เสียพ่อแม่ไปตั้งแต่ยังเด็กบอกพอชว่ามันสำคัญแค่ไหนที่จะแสดงความรักออกมาอย่างท่วมท้น เขาทำของเตือนใจไว้ให้ลูก ๆ ดูต่างหน้า รวมถึงจดหมายและวิดีโอให้กับลูก ๆ เฉพาะคน เขายังทิ้ง “การบรรยายครั้งสุดท้าย” ไว้ให้ลูกอีกด้วย เขากล่าวว่าเขาหวังให้ลูก ๆ รู้สึกว่าพ่อของพวกเขายังมีชีวิตอยู่ขณะที่พวกเขาดำเนินชีวิตต่อไป
หลังจากที่เขาเสนอการบรรยายครั้งสุดท้าย พอชนำเค้กก้อนโตขึ้นมาบนเวทีและชวนให้เหล่าผู้ฟังร่วมร้องเพลง Happy Birthday ให้กับไจภรรยาของเขา เขามองว่าตัวเองโชคดีเพราะแทนที่เขาจะตายด้วยหัวใจวายเฉียบพลันหรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่มะเร็งกลับให้โอกาสเขาและภรรยาได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น พอชชื่นชมในความเข้มแข็ง ความยืดหยุ่น และความอ่อนไหวของไจ เขากระตุ้นให้เธอมีความสุขและถ้านั้นหมายถึงการแต่งงานอีกครั้งก็ได้ หลังจากผู้ฟังร้องเพลงให้ไจ เธอก็เดินมาบนเวที จากนั้นเธอและสามีของเธอก็จูบและกอดกัน
"ได้โปรดอย่าตายนะ" ไจกระซิบที่ข้างหูของพอช


เกี่ยวกับผู้เขียน
แรนดี้ พอช ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2008 เจฟฟรี่ ซาสโลว์ คอลัมนิสต์ของ Wall Street Journal ร่วมฟังการบรรยายครั้งสุดท้ายของพอชและเขียนเรื่องที่ทำให้เขากลายมาเป็นที่ยกย่องในระดับสากล