เช็คด่วน 3 ข้อควรระวังก่อนคลอดแบรนด์ของตัวเอง


Blog Detail

ในยุคที่เราสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง
แบบ 24 ชั่วโมง ในราคาที่โคตรถูก
ทำให้หลาย ๆ คนมีความคิดที่จะมีแบรนด์เป็นของตัวเอง

แต่การสร้างแบรนด์ไม่ได้แตกต่างจากการเลี้ยงลูก
แบรนด์ของเราอาจจะโตไว ตัวสูง

แต่พังง่าย  เจอคู่แข่งเขี่ยก็พังเป็นแถบ ๆ

วันนี้ผมเลยอยากจะเอา “ข้อควรคิด”
ก่อนจะคลอดแบรนด์ออกมา
ให้มาทบทวนกันสักนิดครับผม 
3 ข้อควรระวังนั้นก็คือ ...


1 ) ระวัง "ตกหลุมรัก"สินค้าของตัวเอง

ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไปของสินค้าตัวแรกของเรา
คุณภาพระดับนำเข้า
วัตถุดิบเทียบเท่าเคาเตอร์แบรนด์
หรือประเสิรฐต่อผิวหน้ายิ่งกว่าสกินแคร์ตัวใด ๆ ในโลกา

การสื่อสารเป็นการนำ “สาร” สำคัญไปสู่ผู้บริโภค 
ลูกค้าไม่สามารถรับรู้ข้อมูลได้เท่ากับเรา
5% ก็มากเกินพอ
ลูกค้าไม่สามารถเชื่อเจ้าของแบรนด์ได้อย่าง
สนิทใจ เพราะรู้สึกว่าเขาอาจจะมากำไรจากเรา

การตกหลุมรักไม่ใช่เรื่องผิดซะทีเดียว
แต่การมั่นใจเกินไปว่าแค่สินค้าออกมาก็ขายได้เลย
มันอันตรายสุด ๆ สินค้าโคตรดีหลาย ๆ ตัว
ปัง (พินาศ) เพราะการตลาดห่วย ๆ มามากมาย

โอเคทุกคนอยากทำสินค้าที่มีคุณภาพระดับพรีเมียม
โคตรพรีเมียม อภิมหาพรีเมียม 
แต่การสื่อสารให้ได้เท่ากันเป็นการบ้านหลายหน้า
ที่ทำให้เราต้องทบทวนก่อนจะหลงรักแบรนด์จนหัวปักหัวปำ


2 ) ระวังต้นทุนที่ควรจ่ายทีหลัง

เงินสดหมดก็เหมือนถังออกซิเจนแตก
เพราะในเชิงของโลกธุรกิจแล้ว
หลาย ๆ ครั้งเงินสดในมือสำคัญยิ่งกว่า
ปริมาณกำไรขาดทุนซะอีก

ข้อคิดของต้นทุนที่ควรจ่ายทีหลังมีดังนี้ครับ

a) economy of scale
ใคร ๆ ก็มักรู้จักคำนี้ 
ยิ่งผลิตมาก ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง 
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า 
ต้นทุนที่ถูกลง

b) การลงโฆษณาออฟไลน์
ถ้าเงินไม่ถึงจริง อย่าเพิ่งทำครับ
เพราะ Keyword ยังไม่เด็ด
ทิศทางแบรนด์ยังไม่นิ่ง
การปล่อยสู่ออฟไลน์นั้นกลับมาแก้ไขได้ยาก

c) การทำคลิป Production ระดับจอเงิน
ถ้าใครเคยลองสังเกตดูจะรู้ว่า
คลิปไวรัลส่วนใหญ่ในโลก
ไม่ได้มี Production อลังการ
แต่มันโดนอย่างมหาปะลัยต่างหาก
ดังนั้นกลับมาสู่สามัญ content 

คือวัตถุดิบชั้นเลิศซึ่ง tools สมัยนี้
ไม่จำเป็นต้องทำเลิศหรูไฮโซ
คนก็พร้อมจะดูครับ


3 ) ระวังการตั้งราคา

สิ่งที่ขึ้นยากกว่าเงินเดือน
ก็คือขึ้นราคาสินค้านี่แหละ

ในอีกมุมนึงราคาคือการสูญเสียของลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นยอดเงินเท่าไหร่
แต่เมื่อลูกค้าจ่ายไปครั้งนึง

ลูกค้าจะจดจำ “ความคุ้มค่า” ไปในทันที
ถ้าในเคสที่เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในตัวสินค้า

เมื่อราคาถูกลง ความคุ้มค่าจะมากขึ้น
เมื่อราคาแพงขึ้น ความคุ้มค่าจะตกต่ำลง
และนำมาสู่ .... 

ผมมักจะแนะนำให้ตั้งราคาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
ในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่สินค้าจะ launch ออกมา

เมื่อเราเริ่มพัฒนาสินค้าเราอาจจะกะ ๆ เอาได้
โอเค แพงกว่าสินค้าคู่แข่ง 20% หรือ 2-10 เท่า
ก็ว่ากันไปครับ

แต่ระหว่างทางการพัฒนาสินค้า
แพคเกจจิ้งเข้ามาเกี่ยว
ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าส่งเข้ามาเกี่ยว
ต้นทุนอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน
เริ่มประดังเข้ามา

เพราะกำไรที่เราเคยคาดไว้
มักจะน้อยกว่าความเป็นจริงเสมอ

และการได้กำไร “แบบเฉียด ๆ ทุน”
กำไรแนบเนื้อโดนแดดตอนเช้าก็แสบ
ไม่เหมาะสำหรับการทำแบรนด์ของตัวเองสักเท่าไหร่
ไปเป็นตัวแทนยังได้กำไรดีกว่านี้อีกครับ

ทุกคนจะเห็นได้ว่าการเป็นเจ้าของแบรนด์นั้นไม่ง่ายเลย
แต่ถ้ามีแบรนด์ของตัวเอง
แล้วมันขายดี ขายกระจาย
ใคร ๆ ก็รู้จัก มันโคตรเท่ครับ


ยังไงก็ลองวิเคราะห์แต่ละปัจจัยกันดูนะครับ
ถ้าไม่ละเลย หรืออนุโลมให้กับ "ความแตกต่าง"
สินค้าแบรนด์หน้าใหม่ของเรา นั้นมีที่ยืนแน่นอนครับ