5 เทคนิคเปลี่ยนบทความธรรมดาให้เป็นคอนเท้นต์(SALES CONTENT) เรียกยอดขายอลังการ


Blog Detail

เพราะการลงโฆษณาที่แม่นยำ
ไม่สามารถดัน Content ห่วย ๆ 
ให้ทำยอดขายได้อยู่ดี

และต่อให้เขียน "บทความทั่วไป"
ทุกวันไม่เคยขาด ลูกค้าก็อาจจะไม่ซื้อสินค้าเลย
เพราะมันไม่เคยทำให้ลูกค้ารู้สึก "จำเป็น" ต้องซื้อ
ลูกค้าแค่อ่านแล้วก็จบไปเฉย ๆ
ดังนั้นแม้จะขยันนั่งเซ็ทโฆษณาเป็นชั่วโมง
ตั้ง Content ให้ Ads วิ่งทั้งเดือน 
ก็ไม่แรงพอที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ


การทำบทความ หรือ content ฝืด ๆ 
ก็เหมือนจ้างพนักงานขายห่วย ๆ 
สินค้าดีแค่ไหน โปรโมชั่นแรงแค่ไหน

สุดท้ายเราก็อาจจะเข้าใจผิด
ว่าที่สินค้าขายไม่ออก
เพราะตลาดไม่ต้องการ?
หรือจริง ๆ แล้ว ...
การนำเสนอมันไม่ตรงใจ?


" อนิจจา สิ่งที่น่ารีเช็คทุกครั้งให้ดี
ก่อนจะโปรโมทออกไป ก็คือ
CONTENT ชิ้นนี้มันคมพอไหม?
มันเป็นแค่บทความทั่วไป 
หรือเป็น "SALES CONTENT" กันแน่?
เพราะยิ่งระดมยิงด้วยเงินเท่าไหร่
ก็ยิ่งเปลืองตังค์เท่านั้น "


ผมมองว่า ในเชิงยอดขาย
เรามานั่งเขียนบทความทั่วไป 
เอาไว้โพสต์ 30 วัน 
ก็ยังไม่สามารถสู้ "Sales content" 1 ชิ้นได้เลย
เพราะบทความทั่วไปขาด
"ความสามารถในการทำยอดขาย"

========================
นี่คือ 5 สิ่งที่ "บทขาย" จะต้องมี
========================



1 ) ไฟแดง

ธรรมชาติของยุคที่ใคร ๆ ก็ทำสื่อได้
"เมื่อสื่อเพิ่ม คอนเทนต์ก็ยิ่งล้น"
ในคาบมหาสมุทรคอนเทนต์
การแหวกว่ายหาสมบัติเป็นเรื่องยาก
CONTENT ดี ๆ มักจะจมอยู่ใต้น้ำ 

เพราะลูกค้าจะไม่ดำน้ำมั่วซั่ว
จึงเป็นหน้าที่ของแคปชั่น
ที่จะต้องชูให้ผู้อ่านเห็นว่า
"สมบัติที่เขาตามหานั้นอยู่จุดไหน"
ด้วยข้อมูลมหาศาล 
ณ ตอนนี้ลูกค้าฉลาดกว่าแบรนด์ 
แต่การตัดสินใจแบรนด์นับหมื่น
ด้วยเวลาเพียงชั่วข้ามนิ้วตวัดเป็นเรื่องยาก


แค่เพียง “แคปชั่น” อาจจะไม่เพียงพอ 
“ภาพแรก” จะต้องดีดเป๊าะ!!! 

ให้ลูกค้าตื่นจากภวังค์ที่เขาจมอยู่
ในทุกวินาที ลูกค้ามีความรู้สึกเป็นของตัวเอง
มีเหตุผลเป็นของตัวเอง

หน้าที่ของ SALES CONTENT
จะต้องหยุดตา หยุดความรู้สึกทุกอย่าง
เพื่อเปิดสมองให้พร้อมที่จะเสพ CONTENT ของเรา
เพื่อเปิดใจให้พร้อมจะทักแชทเราเข้ามา

 

2 ) พลังทำลายสมดุล

ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ไม่เคยพอ
แสดงว่าลูกค้าพร้อมจะซื้อเงินเพื่อตอบสนอง
ไม่ว่าเขาจะมีเงินมากหรือน้อย แต่เขาก็จ่ายอยู่ดี

เราแค่ต้องหาเหตุผลดี ๆ 
ทำไมสิ่งที่ลูกค้ามีอยู่ถึงไม่เพียงพอ

ยกตัวอย่างเช่น 
จุดประสงค์ใหม่ในการซื้อของชิ้นใหม่
การวิ่งเพื่อรักษาสุขภาพร่างกาย
อาจจะทำลายสุขภาพหัวเข่า
จึงต้องมีรองเท้าสำหรับวิ่ง 

ทั้ง ๆ ที่หน้าตามันคล้ายกับรองเท้าผ้าใบทั่ว ๆ ไป
แต่มันก็เป็นเหตุผลดี ๆ 
ที่ทำให้รองเท้าสำหรับวิ่ง "เป็นสิ่งจำเป็น"
เราแค่ต้องหาเหตุผลดี ๆ 
ว่าทำไมปัญหา ณ ตอนนี้ถึงต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ยกตัวอย่างเช่น 
กรมธรรม์ประกันชีวิต
จะไร้ความสำคัญและสิ้นเปลือง
จนกว่าจะเริ่มเห็นคนในบ้านป่วยเป็นโรคร้ายแรง


ในข้อนี้จึงสรุปได้ว่า 
SALES CONTENT จะเข้าไปทำลายสมดุล 
ความพอดีเปลี่ยนเป็นความขาด 
ความอิ่มเปลี่ยนเป็นความโหย
และสุดท้ายความไม่พอ 
จะทำให้เขาควักกระเป๋า
เพื่อจ่ายให้สินค้า-บริการของเราครับ



3 ) การทอดสะพาน

ความต้องการของผู้คน
นั้นเดินทางมาไกลไม่เท่ากัน
บางคนความต้องการอยู่ในระดับ “กลางทาง”
คือเคยหาครีมดัง ๆ มาทา 
เคยลองหาสารพัดตัวช่วยมาทานแล้ว
ก็ยังไม่ขาวใสอย่างที่ใจต้องการ 
ดังนั้นคน ๆ นี้ก็ต้องหาสินค้าที่เขาคิดว่า
“เหนือกว่า" เมื่อเทียบกับตัวเดิม
ส่วนเราก็มีหน้าที่หา “ความหวังใหม่” 
ที่จะมาแก้ปัญหาของเขา


แต่ในชีวิตจริงลูกค้าถูกเบี่ยงเบนความสนใจ
ถูกดึงไปซ้ายทีขวาทีจากรายการดัง 
จากแชทของเพื่อน จากซีรีย์เกาหลี
ลูกค้าที่รู้ว่าตัวเองมีปัญหา 
จะหลงลืมมันไป
และนึกขึ้นได้อีกครั้ง
จนกว่าเขาจะได้พบเห็นการนำเสนอปัญหา


ดังนั้นการเรียบเรียง SALES CONTENT 
เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การเขียนมันขึ้นมา
"แท้จริงแล้วถึงลูกค้าจะสับสนในการเลือกแบรนด์
แต่ลำดับการคิดของลูกค้าไม่เคยมั่ว"
SALES CONTENT 
จะต้องนำเขาขึ้นไปสูงขึ้น ๆ จาก "จุดที่ลูกค้าอยู่"


ไปยังจุดที่มูลค่าของสินค้า
ได้สูงกว่าราคาไปแล้ว
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายกับลูกค้าในยุคที่
สมาธิสั้นกว่าโฆษณา 5 วินาที 
และสติช้ากว่า 4G
“มูลค่าสูงขึ้น ราคาจึงต่ำลง 
การจ่ายจึงสมเหตุสมผลมากขึ้น”



ดังนั้นโดยสรุปในข้อนี้ผมขอฝากข้อคิดไว้ว่า
อย่าเอาการสูญเสียขึ้นมาก่อนกำไรที่เขาจะได้รับ
"โปรโมชั่นพิเศษใด ๆ 
ไม่ใช่ข้อเสนอพิเศษ จนกว่าเขาจะต้องการ
ราคาถูกแค่ไหนก็เป็นตัวเลขสูงเสมอ
จนกว่าเขาจะต้องการ"



4 ) การขีดเส้นตาย

ถ้าถามว่า จำนวนคนที่มาซื้อสินค้าจริง ๆ 
คิดเป็นสัดส่วนกี่ % ของคนที่มากดไลค์เพจ
ถ้าถามว่าจำนวนคนที่ทักมาสอบถาม
เป็นสัดส่วนกี่ % ของ Followers ใน Official line
เราจะพบตัวเลขที่น่าอับอายคือ 
5% ,10% หรือ 15%
ซึ่งในความเป็นจริงที่เจอ
มีเพจ 1 แสน
แต่มีคนซื้อจริงแค่ 100 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะถ้าตัดเรื่องความน่าเชื่อถือออกไปก่อน
ยังมีจุดอ่อนที่แบรนด์ส่วนใหญ่พลาดไป
นั้นคือ 

"การขีดเส้นตายให้กับการจ่ายเงิน"


อย่าลืมว่าพฤติกรรมสมัยนี้ของลูกค้า
ที่สนใจข่าวไปซะทุกเรื่อง
แต่ก็สนใจแบบผิวเผิน 
แค่พอได้ยินพอคุยได้ 
ซึ่งอาจจะไม่รู้ความจริงอะไรเลยก็ตาม
ด้วยความผิวเผินนี่แหละ
ที่ทำให้ลูกค้าพร้อมจะลืมอะไรง่าย ๆ 
โดยเฉพาะสินค้าของเรานั่นแหละ


และการลืมไม่ได้ลบแค่ความทรงจำ 
แต่ดันความต้องการที่ดับลงไปด้วย ...
ความจำเป็นหรือมูลค่าสินค้า
ในสมองได้ถูก SHIFT+DELETE 
ไปพร้อมกับความทรงจำเรียบร้อยแล้ว


ดังนั้นก่อนตลาดจะวาย 
ก่อนความต้องการจะดับนิรันดร
"เงื่อนไขพิเศษจะต้องกำกับด้วยเวลา
ในขณะที่ความต้องการของลูกค้าถึงพีค"


แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
เพราะการกำกับด้วยเวลา 
ใช้ได้ผลกับลูกค้าที่มีความต้องการในระดับสูงเท่านั้น
ไม่งั้นเราอาจจะเจอตอกหน้าหงายแบบนี้แทน
“พลาดโปรโมชั่นแล้วไง 
นึกว่ามีแค่แบรนด์แกแบรนด์เดียวเหรอไง?”


5 ) ความจริง

คนที่อึดอ่านมาถึงตรงนี้
อาจจะตกใจในการหักมุมของข้อ 5 
แต่จริง ๆ มันไม่ใช่หักมุมไปเขียนหัวข้ออื่นเลยครับ
ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ว่า “ความจริง” 
ที่ผมพูดถึงคืออะไร?

สมมติว่า...
เมื่อคุณจ้างดารา เซเลป หรือ Net idol รีวิวสินค้า
ประเด็นคือ ก่อนใช้ก็สวย-หลังใช้ก็สวย
“แล้วไหนคือส่วนต่างที่ลูกค้าต้องจ่ายเพื่อให้ได้มา????”
ช่วงเวลาที่คนเหล่านี้มีปัญหาหน้าพัง
หน้าแหลกก็ไม่มี แล้วสินค้ามันดีตรงไหน
หรือแกจะให้ฉันเล่น Photo Hunt 
หาจุดผิดระหว่างความสวยที่มันเท่าเดิม
แล้วการถ่ายรูปถือสินค้า
เราบอกว่าเราใช้สินค้านี้จริง ๆ 
มันจริงตรงไหน?
“นี่คือการถือ ไม่ใช่การใช้จริง”


ดังนั้นโพสต์นี้ก็ยาวมาพอสมควรแก่เวลา
ณ ตรงนี้ผมขอฝากคำถามเอาไว้ว่า
นางแบบนายแบบที่เราเลือกมา 
สามารถทำให้คนเชื่อหรือไม่ ว่าเขาจะเป็นลูกค้าตัวจริง?
สถานที่ที่หรือบริเวณที่เราใช้ถ่าย
มันเป็นที่ที่สินค้าควรอยู่หรือเปล่า?
แสงไฟสตูหนัก ๆ รูปที่ใครก็รู้ว่ารีทัชมา
มันเหมาะแล้วหรอที่จะใช้แชร์ผลลัพธ์ของสินค้า?
นี่ละครับ “ความจริง” 
ที่ SALES CONTENT ของคุณขาดไป



สุดท้ายนี้อยากจะฝากเอาไว้ว่า
อย่าละเลยความพิถีพิถันในการทำ Content
เพราะนี่คือทั้งหมดที่เราสื่อสารกับลูกค้า
และลูกค้าจะวาง Brand เราไว้ในตำแหน่งไหน
ไม่ได้อยู่ที่สินค้าของเราดีแค่ไหน
แต่ขึ้นกับว่าเราบอกลูกค้าว่าอะไรต่างหากครับ ..