5 สิ่งที่ต้อง Say No ของ “คนสอนคน” ที่ดี


Blog Detail

 
ทุกอาชีพต่างก็มี
เรื่องของ “การวางตัว”
 
และ “จรรณยาบรรณ”
ด้วยกันทั้งนั้น
 
ไม่เว้นแม้แต่ Trainer
หรือ “คนสอนคน”
 
ซึ่งมีทั้งข้อควรปฏิบัติ
และไม่ควรปฏิบัติ
 
โดยที่ผมต้องบอกเลยว่า
มันสำคัญมากเลยนะครับ
 
เพราะมันมีผลต่อทั้ง
“ตัวคุณเอง”
 
ที่คนเค้าจะเชื่อถือ
หรืออยากฟังแค่ไหน
 
และ “ตัวผู้เรียน”
ที่เค้าจะได้รับวิชา
 
และคุณค่าที่คุณหยิบยื่น
ได้เต็มเปี่ยมเพียงใด
 
ซึ่งอันที่จริงผมว่า
คุณก็คงรู้อยู่แล้วแหละครับ
 
ว่าการเป็นผู้สอนที่ดีนั้น
ต้องทำยังไง
 
แต่สิ่งที่ต้องละเว้นล่ะ
มีอะไรบ้าง ?
 
งั้นลองไปดูทีละข้อ
ด้วยกันเลย ดีไหมครับ
 
 
1. ไม่หวงวิชา
 
หน้าที่ตรงนี้คือ “ผู้ให้” ครับ
 
และเมื่อจะให้แล้ว
ก็จงให้แบบ ‘ไม่หวง’
ถึงจะดีที่สุด
 
ซึ่งถ้าคุณให้แบบกั๊ก ๆ
ก็ใช่ว่าคนเค้าจะรู้สึกไม่ได้
 
“จิตแห่งผู้ให้”
จึงเป็นสิ่งต้น ๆ ที่สำคัญมาก
 
ด้วยความรู้สึกที่อยากให้
คนเกิดการเปลี่ยนแปลง
 
อยากให้เค้าได้ผลลัพธ์
อยากให้ชีวิตเค้าดีขึ้น
 
ดังนั้น “โรคหวงวิชา”
จึงเป็นของแสลงสำหรับ
การอยู่ตรงนี้มาก ๆ ครับ
 
 
2. ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
 
จริงอยู่ที่คุณก็มนุษย์คนหนึ่ง
 
ซึ่งธรรมชาติมนุษย์
จะมีสิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ
เป็นพิเศษประจำตัวกันทั้งนั้น
 
โดยที่ในบางครั้ง
ก็ไม่ได้สมเหตุสมผลเลยด้วย
 
แต่อย่าเอาลักษณะเหล่านั้น
มาใช้ในการเทรน การสอน
อย่างเด็ดขาด
 
การอยากให้ใครมาก ๆ นั้น
เป็นสิ่งที่ดีของคนถ่ายทอด
 
แต่การเอียงไปยัง
ข้างหนึ่งข้างใด
ที่รู้สึกถูกชะตามากไป
 
แล้วส่งไปน้อยกว่า
กับคนอีกกลุ่ม
 
จะกลายเป็นความไม่เท่าเทียม
ที่เค้าสัมผัสได้ในทันที
 
ซึ่งนั่นไม่ดีเลยต่อ
บรรยากาศในการสอน
 
รวมถึงความรู้สึกที่คน
เค้าจะอยากรับวิชา
จากคุณต่อไปด้วย
 
 
3. ไม่ด่วนตัดสินคน
 
แม้คุณอาจจะกรองมาแล้ว
ว่าผู้เรียนของคุณต้อง Level ไหน
 
แต่ก็ต้องเข้าใจนะครับ
ว่าแต่ละคนก็ยังมีความเข้าใจ
 
ความสามารถที่รับได้
เร็วหรือช้าต่างกันเสมอ
 
คุณจึงไม่อาจ
ด่วนตัดสินเค้าในใจว่า...
 
“คนนี้ฉลาดดี”
หรือ
“คนนี้หัวช้าจัง”
 
ซึ่งการพิพากษาแบบนั้น
มันก็ไม่ใช่หน้าที่ของเราด้วย
 
ในขณะที่หน้าที่แท้จริงก็คือ...
 
การให้ไปแบบเต็มที่
อย่างเท่าเทียม และทั่วถึงครับ
 
 
4. ไม่ EQ ต่ำ
 
การเป็นผู้สอนอยู่ด้านหน้า
ในขณะที่อีกด้านคือคนฟังนับสิบ
 
คุณจึงต้องเจอคน
อย่างหลากหลายอยู่แล้ว
 
บางคนอาจดู ‘เยอะ’
จุกจิกในรายละเอียด
 
ซักนู่น ถามนี่ จนบางที
ไม่รู้จะถามอะไรนักหนา
 
หรือไม่ก็ดูเข้าใจยาก
ไม่ก็เข้าใจคลาดเคลื่อน
ไปอีกแบบ
 
ข้อนี้คุณต้องเข้าใจคน
ให้มากพอสมควรครับ
 
ต้องดึง EQ ขึ้นสูง
จนเป็นนิสัย
 
เข้าใจในธรรมชาติ
และนิสัยของคนที่แตกต่าง
 
ขืนแสดงอารมณ์อะไรออกไป
การเรียนการสอน
จะเบรกแตกซะก่อนได้ครับ
 
 
5. ไม่ Ego จัด
 
แม้คุณจะมีบทบาทเป็น
Leader ในการสอน
 
เป็น Center ในการถ่ายทอด
 
ก็ไม่ได้แปลว่า
คุณต้องตั้งความคิดว่า
 
“ฉันฉลาดที่สุดในที่นี้”
 
แต่ในขั้วตรงกันข้าม
คุณต้องเปิดใจให้กว้าง
ทุบ Ego โต ๆ ให้ยุบตัวลง
 
แล้วฝัง Mindset ให้ตัวเอง
ที่พร้อมรับ Feedback
 
พร้อมปรับปรุง
พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
 
เพื่อให้ศักยภาพในตัวคุณ
ทักษะและความสามารถ
ในการสอนของคุณ
 
ขยับก้าวไปข้างหน้า
ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่
 
แทนที่จะเบรกตัวเอง
ด้วยคำว่า...
 
“ฉันเก่งที่สุด”
“ฉลาดที่สุด”
“ฉันถูกเสมอ”
 
...........................
 
การที่คุณจะช่วยให้ใคร
ยกระดับทักษะ ปรับวิธีคิด
หรือเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์
 
นอกจากวิชาที่สอน
เทคนิคที่เอามาช่วยถ่ายทอด
 
ก็ยังมีเรื่องพวกนี้แหละครับ
เป็นส่วนประกอบ
ที่ความสำคัญไม่ได้เป็นรอง
 
ซึ่งถ้าดูเผิน ๆ
มันอาจดูไม่ใช่ประเด็นหลัก
 
แต่ถ้าละเลยมัน
ก็ส่งผลต่อการเป็น…
 
“ผู้สอนที่ดี”
 
ไม่ใช่น้อย ๆ
เลยเหมือนกันครับ