วิธีรับมือ พี่มาร์คช่างปรับ (ครึ่งหลัง 2019)


Blog Detail

 
“ลด Reach ก็ว่าแย่แล้ว
แต่รอบนี้ผมว่าหนักกว่าอีก”
 
 
ก่อนหน้านี้ใครที่ขยันทำเพจ
จนมีผู้ติดตามจำนวนลายหมื่น
หรือทะลุไปถึงหลักแสน
 
กุศลผลบุญที่น่าชื่นใจ
จะมีมาให้เห็นจะ ๆ
 
ก็ตอนยิงโฆษณาหา
คนที่กดถูกใจเพจนั่นแหละครับ
 
เพราะด้วยความคุ้นเคย
ที่เค้ามีต่อคุณมาก่อนพอสมควร
 
จึงเป็นกลุ่มที่มีความเป็นไปได้
ในการควักประเป๋าซื้อสินค้าของคุณ
ง่ายยิ่งกว่ากลุ่มไหน ๆ ในสามโลก
 
ดังนั้นจึงถือได้ว่า...
 
กลุ่มผู้ติดตามทั้งหมดของคุณนั้น
คือ “Asset ที่มีค่ามหาศาล”
 
และแม้ที่ผ่านมาโดยตลอด
พี่มาร์คจะทยอยออกนโยบาย
“ลดการมองเห็น”
 
พรากผู้ติดตามบางส่วน
เหินห่างจากคุณไปบ้างเป็นระยะ ๆ
 
ก็ยังไม่สร้างความปวดใจ
ให้กับคนทำเพจได้มากเท่ากับ
ช่วงกลางปี 2019 นี้อีกแล้วล่ะครับ
 
เมื่อพี่มาร์ค ‘ช่างปรับ’
ทำให้บางเพจเริ่มถูกตัดหนทาง
ยิงโฆษณาหาลูกเพจของตัวเอง
 
ด้วยการตัดตอนเอาตัวเลือก
“ผู้ที่ถูกใจเพจของคุณ”
 ออกไปจากเมนู Connection Type
 
โดยเหลือทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าแค่เพียง
“ผู้ที่มีส่วนร่วมกับเพจของคุณ”
 
จึงเป็นไปได้ที่สถานการณ์การยิงโฆษณา
ของบางเพจอาจยากขึ้นครับ
 
 
ทำไมเค้าทำกับเราอย่างนี้ ?
 
ทางเฟซบุ๊คมีเหตุผลที่ว่า...
 
เพราะคนที่ไม่ได้มี Engagement
ไม่มากด Like กด Share
หรือแม้แต่ Comment ใต้โพสท์อีกแล้ว
 
เค้าก็น่าจะเลิกสนใจคุณไปแล้ว
 
ไม่ต่างจากคนสถานะเคยคุย ๆ กัน
ที่ตอนนี้ห่าง ๆ กันไป
ไม่รู้จะปฏิสัมพันธ์อะไรกันอีก
 
แล้วคุณยังจะไปวุ่นวาย
ตามจิกเค้าอีกทำไม ?
 
ดังนั้นตัดใจปล่อยเค้าไปเหอะ
 
แล้วหันมาโฟกัสเฉพาะคนที่ยัง
แวะเวียนเพจคุณอยู่ตอนนี้ดีกว่า
 
ด้วยแนวคิดนี้เอง
สิ่งที่เค้าหลงเหลือไว้ให้คุณ
จึงมีเพียงแค่...
 
“ผู้ที่มีส่วนร่วมกับเพจของคุณ”
อย่างที่เห็นนั่นแหละครับ
 
 
ยิงโฆษณาหาได้แค่ เสี้ยวเดียว
 
เมื่อมันกลายเป็นอย่างนี้
ถ้าให้กะประมาณแบบเร็ว ๆ
คุณก็คงพอจะเดาได้ทันทีนะครับ
 
เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดตามทั้งเพจแล้ว
“ผู้ที่มีส่วนร่วมกับเพจของคุณ”
คงเหลือจากเดิมแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
 
เรียกว่าหมดโอกาสที่ลูกค้า
จะเห็นคนโฆษณาของคุณ
ในจำนวนที่มากเท่าเดิม
 
ทำให้ต้องมาตั้งหลักกันใหม่เลยว่า
ต่อจากนี้ไปจะทำยังไงกับยอดขาย ?
 
ซึ่งผมมีข้อแนะนำดังนี้ครับ
 
 
1. ยิงเป้าน้อย ด้วยอาวุธหนัก
 
ในเมื่อเหลือ Target
ให้คุณยิงโฆษณาใส่ได้น้อยลง
 
ก็ต้องยิงอัดแบบเน้น ๆ ให้ได้มากที่สุด
เพื่อทะลุจุดตายกลับมาเป็นยอดขาย
ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน
 
ซึ่งคำว่า “เน้น ๆ” ของผมนั้น
 
หมายความถึงทั้งในเชิง
“คุณภาพ” และ “ปริมาณ” ครับ
 
“เชิงคุณภาพ”
 
คุณต้องกลับมาคิดให้ดีอีกครั้ง
ในเรื่องการทำคอนเทนต์
ให้สามารถกระตุ้นความสนใจได้สูงสุด
 
ภายใต้โจทย์ที่เข้มข้นว่า...
 
A) “Benefit” อะไรบ้าง
ที่ลูกค้าอยากได้จริง ๆ ?
 
B) “Feature” อะไรบ้าง
ที่ลูกค้าอยากรู้เพื่อความมั่นใจ ?
 
C) “นำเสนอ” ด้วยวิธีไหน
ให้สามารถหยุดสายตาของลูกค้าได้ ?
 
สกัดมันออกมาให้เต็มที่เลยครับ
เพราะเดี๋ยวคุณต้องเอาไปใช้
กระหน่ำยิงตามแผนการต่อไป
 
“เชิงปริมาณ”
 
เมื่อคุณ Create คอนเทนต์ออกมา
หลาย ๆ ตัว ในหลากหลายแง่มุม
 
ที่มากพอจะสามารถเปิดใจลูกค้า
และปิดข้อโต้แย้งได้ทั้งหมดแล้ว
 
คุณต้องพาทั้งหมดนั้น
เข้าสู่ขั้นตอนของการวางแผน
 
“Re-marketing” ครับ
 
มันจะเป็นการยิงกระสุนโฆษณา
ออกไปเป็นระลอก ๆ
 
ด้วยการเรียงลำดับว่า...
 
A) “Benefit” ไหน
ที่จะจับความสนใจของลูกค้า
อย่างได้ผลที่สุด เร็วที่สุด ?
 
B) “จุดขาย” จุดไหน
ที่โดนใจ ทิ่มแทงความต้องการ
ของลูกค้ามากที่สุด ?
 
C) “กองหนุน” ตัวไหน
ที่ช่วยยกระดับความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
วางใจ หายกังวล และกล้าโอนเงิน ?
 
ทั้งหมดนี้จะเป็นการทำ Re-Marketing
อย่างมีกลยุทธ์ให้ได้ผลแรง ๆ มากขึ้น
 
ชดเชยจำนวน Target ที่หายไป
ด้วยการยิงที่หนักมือมากขึ้นครับ
 
และยังมีอีกขั้นตอนหนึ่ง
ที่ผมไม่อยากให้คุณลืม
 
นั่นคือ “การเก็บ List” ครับ
 
เพื่อไม่ให้ทุกอย่างที่คุณทำมา
ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วก็ต้องทิ้ง
 
เพราะสถานการณ์มันผันผวน
ได้เสมอเลยนี่ครับ
 
 
2. กำ List ลูกค้ามาไว้ในมือ
 
จากแผนการและขั้นตอนข้างต้น
น่าจะพอนึกภาพออกนะครับว่า
คุณคงต้องเหนื่อยไม่ใช่เล่นเลยเหมือนกัน
 
ดังนั้นเหนื่อยทั้งที ก็ต้องเอาให้คุ้มครับ
 
คุณจึงต้องกำความแน่นอนไว้ในมือ
เพื่อความชัวร์ในการยิงโฆษณาครั้งต่อไป
 
ด้วยการเก็บ List ลูกค้าให้หมดทุกคน
 
โดยข้อมูลสำคัญที่คุณต้องเก็บนั้น
ก็จะมี...
 
A) เบอร์โทรศัพท์
B) Email (ที่ใช้สมัครเฟซบุ๊ค)
 
ซึ่งคนส่วนใหญ่จะสมัคร
และ Login เฟซบุ๊ค
ด้วย 2 สิ่งนี้กันอยู่แล้วทั้งนั้น
 
ผมแนะนำให้สลักมันลงไป
ในโปรแกรม MS Excel
และเก็บไว้ให้ดีดั่งทองคำเลยครับ
 
เพราะนี่จะเป็น “ตัวชี้เป้าชั้นดี”
 
ให้คุณยิงโฆษณาถึงลูกค้าครั้งต่อไป
ได้อย่างไม่พลาดเป้า
 
เพราะใครจะไปตรัสรู้ได้ล่ะครับว่า...
 
รอบหน้าพี่มาร์คเค้าจะดีดนิ้ว
ให้อะไรหายไปอีก
 
...............................
 
สุดท้ายแล้ว
ไม่ว่าเจ้าของแพลตฟอร์ม
จะปรับอะไรของเค้ายังไง
 
คุณเองก็ต้องปรับตัวอยู่เสมอครับ
 
เพราะจะว่าไปแล้ว
คนทำธุรกิจยุคนี้ก็ต้องคอยปรับตัว
กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างอยู่แล้ว
 
และเมื่อคิดซะว่านี่เป็นเพียง
หนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น
 
ไม่ว่ายังไง คุณก็ต้องผ่านมันไปได้ครับ