5 จุดตายแบรนด์ตัวแทนจำหน่ายที่ต้องระมัดระวัง

แบรนด์ตัวแทนจำหน่ายหลาย ๆแบรนด์ มักจะเริ่มต้นช่วงเวลาแรกด้วยความชื่นมื่น

Blog Detail


มักจะเริ่มต้นช่วงเวลาแรกด้วยความชื่นมื่น

เพราะสินค้าเปิดตัวใหม่

คนกำลังแห่มาเอาจับกระแส

ลูกค้าเองก็ชอบทดลองแบรนด์ใหม่

 

ทำให้เจ้าของแบรนด์หลาย คน

ไม่รู้ตัวว่า  ...

อาจจะกำลังขุดหลุมฝังแบรนด์ตัวเอง

และนี่คือ 5 หลุดพรางที่จะเป็นจุดตาย

ที่เจ้าของแบรนด์มือใหม่อาจจะไม่รู้ตัว

 

1.การตัดราคาที่ควบคุมไม่อยู่

 

การตัดราคาไม่ว่าเกิดขึ้นเล็กหรือน้อย

จะส่งผลใน 2 มิติเสมอ

 

มิติแรก คือ ตัวแทนบางส่วน

 

ส่วน มิติที่ 2 คือ ความเชื่อมั่นของคนขาย

เค้าจะรู้สึกถูกเอาเปรียบ ขายราคาที่บริษัทประกาศ

กับพลาดลูกค้าให้กับคนทำผิดกฎ

 

 

การตัดราคาที่เกิดแล้ว

ไม่ว่าจำนวนสินค้าจะเยอะจะน้อย

ก็คือเกิดใน Market place ออนไลน์นั่นเอง

เพราะว่าไม่ลูกค้า หรือตัวแทนจะค้นหา

มันก็ขึ้นมาให้บาดใจในราคาได้ง่าย

 

แต่ความเป็นจริงก็คือ

ไม่มีแบรนด์ไหนที่ขายดี

แล้วไม่เจอเรื่องตัดราคา

 

แต่ทางแบรนด์จะมีการจัดการยังไง

ให้รวดเร็ว แสดงถึงความเอาจริงจัง

กับเรื่องการตัดราคา

 

รวมถึงบทลงโทษที่ทำให้

การตัดราคาเกิดช้า

หรือเกิดน้อยที่สุด

 

2.ความสมดุลของเสาหลัก

 

ถึงยอดขายของแบรนด์ตัวแทน

สุดท้ายจะมาจากยอดขายปลีกก็จริง

 

แต่ยอดขายปลีกนั้นก็ถูกถือครอง

ด้วยตัวแทนจำหน่ายอยู่ดี

 

ซึ่งตัวแทนย่อยก็ถูกปกครองด้วย

แม่ทีมและ Dealer อีกที

 

การหายไปของแม่ทีมหรือ Dealer

กระเทือนยอดขายของแบรนด์

ไม่มากก็น้อยเสมอ

3.งบการตลาด และ ปริมาณสินค้า

ที่วิ่งสวนทางกัน

 

การออกสินค้าใหม่

ต้องสร้างกระการตลาดให้มากที่สุด

 

ซึ่งถ้าเราจุดไฟให้ลุกลามได้มากพอ

สินค้าก็จะเดินได้ดีในตอนเปิดตัว

 

พอสินค้าเดินดี

เจ้าของแบรนด์ก็มักจะเพิ่มกำลังการผลิต

เป็น 2-3 เท่าจากเดิม

 

 

แต่อาจจะลดกระแสการตลาดลง

 

ไม่ใช่เพราะว่าเราไม่สามารถ

ลดค่าการตลาดลงได้เลย

 

แต่เราไม่ควรลดค่าการตลาด

สวนทางกับกำลังการผลิตต่างหาก

 

ซึ่งความสวนทางตรงนี้

ทำให้ผมเห็นเจ้าของแบรนด์

ติดดอยสินค้าตัวเอง

ในล็อตที่ 2-3 อยู่บ่อยครั้ง

4.การสปอยล์ตัวแทน

จนไม่โตจนยืนได้สักที

 

 

ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงลูก

หรือปั้นทีมงาน

การสนับสนุน  กับการพัฒนา

เป็นของที่ต้องมาคู่กันเสมอ

 

 

 

ถ้าช่วงเป็นทารกก็ไม่เป็นเรื่องปกติ

ที่เค้าจะต้องได้รับการประคับประคอง

แต่ถึงจุดนึงเค้าก็ต้องยืน

และวิ่งไปด้วยขาของตัวเอง

 

 

ไม่ว่าจะเป็น

 

-การโยนออเดอร์

-การโยนตัวแทน

-การสนับสนุนคอนเทนต์

 

การช่วยเหลือต่าง

ทำให้เค้าไม่ล้มก่อนที่จะ

ประสบความสำเร็จในการขาย

แต่สร้างความเคยชินไปด้วย

ว่ายังไงเจ้าของแบรนด์ก็ต้องช่วย

 

5.ยึดติดความสำเร็จ และต่อต้านการตลาดใหม่

 

หลาย แบรนด์ที่เคยประสบความสำเร็จ

บางแบรนด์เคยได้เงินจากการสร้างตัวตนหนัก

ฟาดการตลาดด้วยสื่อออฟไลน์

 

แต่คิดว่าการยิง ads สิ้นเปลือง

ทำไมต้องไปเสียเงินโฆษณา ?

ทำไมต้องไปบุกแพลตฟอร์มใหม่   ??

ทำไมต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มอีก เรียนจนหัวบานแล้ว ???

 

สุดท้ายผ่านไปอีก 7-8 เดือน

เราก็ได้เห็นหลาย คนต้องเปิดแบรนด์ใหม่

กลับมายิง ads มาทำการตลาดออนไลน์

ทุกช่องทาง

 

 

โลกการตลาดออนไลน์ไม่ได้หมุนเร็ว

จนคุณตามไม่ทัน

 

ส่วนใหญ่เราตามไม่ทัน

เพราะเราคิดว่าทำแค่นี้ก็ดีอยู่แล้ว

 

แต่การอัพเดทของแพลตฟอร์มที่เกิดต่อเนื่อง

คู่แข่งที่เข้ามาแอบแย่งชิงตลาดของคุณทุก วัน

 

ทำให้รู้ตัวอีกทีก็ไม่เหลือที่ยืน

ในตลาดอีกแล้ว